คนเราทุกคนล้วนมีสัญชาตญาณแห่งการต่อสู้ และปรารถนาการบงการ กล่าวกันว่า "นกกระจอกแม้ตัวเล็กแต่มีอวัยวะครบ" คนเรามักรักศักดิ์ศรีอย่างรุนแรง อีกทั้งแสดงอาการหุนหัวและดึงดัน การจะข่มมันลงได้ คงไม่ใช่เรื่องยาก
ข้าพเจ้าเดิมมีอาการหยิ่งผยอง จองหองเป็นที่สุด เมื่อก่อนไม่เคยยอมอ่อนข้อ แต่เดี๋ยวนี้หากได้เรียนรู้ชีวิตการทำงานและการดำเนินชีวิต มีการปรับตัวปรับใจ ตอนนี้กับเมื่อก่อนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
คนเรามีอาการหุนหันและดึงดัน เพราะทุกคนต่างคิดว่าตนเองถูกต้อง ทุกครั้งมักจะคิดเข้าข้างตนเองเสมอ เป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องถูกต้อง หากพูดเรื่อง "อ่อนน้อมถ่อมตน แพ้คือชนะ" กับคนที่อยู่ในอาการดังกล่าว พวกเขาย่อมไม่เข้าใจ เพราะนี่เป็นคำพูดของคนมีสติ
อีกทั้งความขัดแย้งระหว่างคนมีสติกับอารมณ์ความรู้สึกการดำรงอยู่ "จำเป็นด้วยหรือที่เราต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้"
"แพ้คือชนะ"
"สามสิบหกกลยุทธ์ ถอยคือยอดกลยุทธ์"
"ยอมแพ้ชั่วคราว นำมาซึ่งชัยชนะในภายหลัง"
"ถูกคนอื่นตี กลางคืนนอนหลับดี"
การอ่อนน้อมถ่อมตน สำหรับชาวญี่ปุ่น ถือเป็นสูตรเข้าสังคมที่มีลักษณะความรู้ทั่วไป นี่คือมารยาทที่เกิดจาก"ความคิดที่ว่าง"
นอบน้อม (1)ปล่อยความคิดจิตใจให้ว่าง ไม่ร้อนรน ไม่ก้าวร้าว คำพูดและการกระทำเป็นแบบอนุรักษ์ รู้จักสำรวม (2)ตามหลักคำสอนทางศาสนานั้น ต้องสำนึกตนว่าเป็นคนบาป อ่อนแอและไร้พลังต้องขึ้นต่อเจตจำนงของเทพเจ้าอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
"ถ่อมตัว" กดตัวเองให้ต่ำ ซึ่งคือสงบเสงี่ยมเจียมตัว
การไม่อ่อนน้อมถ่อมตน ย่อมนำมาซึ่งความเสียหาย การไม่ยอมรับของสังคม เหมือนมีชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ท่านเคยพูดว่า "คนอะไรไม่รู้จักความ รู้จักแต่หนังสือใช่ว่าจะเอาตัวรอด" เพราะความเหย่อหยิ่งเหมือนปูผู้ชอบอวดก้ามปูอันใหญ่ พลอยมีแต่คนหมั่นไส้ ย่อมอยากจะหักก้ามปูอันใหญ่นั้นเสีย"
เมื่อคิดเช่นนี้ได้ก็กลับมาถ่อมตัวดีกว่าแข็งกระด้างกันดีกว่าค่ะ ถ้าไม่เช่นนั้นสังคมคงจะร้อนเป็นไฟ เพราะการไม่ลดราวาศอก ไม่ยอมอ่อนน้อมถ่อมตน