1.จำนวนธูป
การใช้ธูปจำนวนต่างๆ กันนั้น แตกต่างตามความเชื่อและประเพณีแนวคิดต่างๆ อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมไทย เป็นวัฒธรรมผสม ดังนั้นจึงต้องเข้าใจแก่นสาร และเปลือกนอก อันเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม
แนวคิดที่หนึ่ง "ธูป หนึ่ง ดอก แทนหนึ่งสิ่ง"เช่น หากไหว้สามดอก ก็แทน พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ เป็นต้น
แนวคิดที่สอง "จำนวนธูป ตามกำลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์"เช่น ทางโหราศาสตร์ อาจจะใช้ ธูป ๘ ดอก เป็นกำลังของราหู เมื่อไหว้ราหู หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในข่ายของราหู เช่น จตุคาม รามเทพ ก็ใช้ธูป ๘ ดอก จึงนับว่าถูกต้องตามหลักกำลังของโหราศาสตร์
แนวคิดที่สาม "จำนวนธูป ตามประเภทสิ่งศักดิ์สิทธิ์"เช่น คนตายไหว้เพียงหนึ่งดอก (แทนคนๆ นั้น) แต่หากเป็นพระมหากษัตริย์ที่จากโลกไปแล้ว จะใช้ธูป ๗ ดอก ด้วยถือเคล็ดว่า พระมหากษัตริย์จะใช้เลข ๗ เท่านั้น เช่น ฉัตรก็ใช้ ๗ ชั้น เป็นต้น นอกจากนี้ ทางพราหมณ์ อาจกำหนดให้จำนวนธูปในการไหว้เทพแต่ละองค์แตกต่างกัน ซึ่งก็ควรไหว้ตามนั้นให้ถูกจารีตประเพณี
ทั้งนี้ สามารถผสมผสานเลือกใช้แนวคิดทั้งสามในการเลือกจำนวนธูปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่ถือว่าผิด เพราะถือหลักอะไรก็ได้ เป็นประเพณีเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องแก่นสารธรรม ที่จะมาบอกว่าถูกหรือผิดประการใด
2. สีของธูป
ปกติเรามักเห็นธูปมีสีเดียวตามที่ขายอยู่ทั่วไป แต่หากถือเคล็ดตามโหราศาสตร์แล้วละก็ การใช้สีเดียวกันกับทุกอย่างเป็นสิ่งไม่ดี เช่น การบูชาราหู ทุกอย่างควรเป็นสีดำเท่านั้น หรือการไปงานมงคลสมรสของชาวจีน ทุกอย่างควรเป็นสีแดง ดังนั้นธูปก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้ เพื่อให้ถูกต้องตามจารีตประเพณี ต้องทำความเข้าใจว่า
ควรเลือกสีธูปให้เหมาะกับกิจการต่างๆ ดังนี้
๑. ธูปสีทอง ใช้บูชาสิ่งสูงสุด คือ พระรัตนตรัย, พระอรหันต์, พระพุทธเจ้าการไหว้ด้วยธูปสีทองนี้ ใช้ไหว้ได้ทุกวันยิ่งดี เพราะทำให้จิตใจบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
๒. ธูปสีม่วง ใช้บูชาดวงวิญญาณลึกลับที่คุ้มครองเรา เช่น เจ้าที่, พระภูมิการไหว้ด้วยธูปสีม่วงนี้ เพื่อขออำนาจสิ่งลี้ลับที่อยู่ใกล้ชิดเรามากกว่าพระพุทธซึ่งเข้านิพพานแล้ว ให้ท่านมาสะสมบุญบารมีโดยช่วยเหลือเราในกิจงานต่างๆ
๓. ธูปสีดำ ใช้บูชาเฉพาะราหูเท่านั้น หรือในงานศพ ก็นับว่าใช้ได้ หรือเทพบางองค์ที่นับว่าชงเข้ากับสีดำ การไหว้ด้วยธูปดำนี้ ใช้กรณีดวงตก มีคราวเคราะห์ ก็ให้บูชาราหูเพื่อลดหย่อนผ่อนโทษ
๔. ธูปสีเขียว ใช้บูชาเทพต่างๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนา และไม่ใช่ราหูแต่ใช้ในกรณี ขอพรให้มีความเจริญรุ่งเรืองงอกงาม หรือสุขภาพดี
๕. ธูปสีชมพู ใช้บูชาเทพต่างๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนา และไม่ใช่ราหูแต่ใช้ในกรณี ขอพรให้มีความรักใคร่สามัคคีปรองดอง ให้สิ่งดีๆ ยั่งยืนยาวนาน
๖. ธูปสีเหลือง ใช้บูชาเทพต่างๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนา และไม่ใช่ราหูแต่ใช้ในกรณี ขอพรให้มีความคิดสร้างสรรค์, ฉลาด, มีปัญญาเฉียบแหลม
๗. ธูปสีแดง ใช้งานในมงคลสมรสของชาวจีนเท่านั้น ไม่ใช้ในกรณีของงานอื่นๆ นอกจากเทพบางองค์ที่ชงกับสีแดงจริงๆ ก็สามารถเลือกใช้ได้ตามวาระ
๘. ธูปสีปกติ มักใช้ทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง และไม่จำกัดว่าไหว้อะไร
๓.โอกาสในการไหว้ (กาลเทศะ)
บางครั้งที่บ้านท่านอาจมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์จำนวนมากมายก่ายกอง กองรวมกันให้หิ้งพระ ซึ่งไม่ดีเลย ทั้งในแง่ของการรับและแผ่พลังจะมั่วกันไปหมด บางท่านแนะนำให้เลือกบางอย่างที่ชงกับเราจริงๆ แต่มันก็อดใจไม่ได้ที่จะบูชาอย่างอื่นด้วย หรือบางครั้งก็ได้รับมาจากญาติโยมมอบให้ไม่รับก็ไม่ได้ ทำอย่างไรดี? จึงจะบูชาได้เหมาะสมตามกาลเทศะ
๑. ประเภทที่ควรบูชาทุกวัน คือ พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ, พระธรรม พระสงฆ์ อันหมายรวมถึง พระอรหันต์องค์ต่างๆ เช่น หลวงปู่ทวด เป็นต้นให้ใช้ธูป สีธรรมดา หรือ สีทอง เพื่อเน้นว่าบูชาอย่างสูงสุด
๒. ประเภทที่มักบูชาทุกวัน คือ ศาลพระภูมิ, เจ้าที่, ดวงวิญญาณพ่อแม่ บรรพบุรุษ ที่มักมีศาลเล็กๆ ไว้ในบ้าน และชาวเชื้อสายจีนมักไหว้ทุกวัน ให้ใช้ธูป สีม่วง เพื่อดึงพลังอำนาจลึกลับมาช่วยในกิจการงานต่างๆ
๓. ประเภทบูชาเมื่อดวงกำลังขึ้น ใช้บูชาเทพเจ้าได้ทุกองค์ ตามต้องการเรื่องอะไร ให้เลือกเทพให้ถูกองค์ เช่น เทพที่เน้นค้าขายก็ขอเรื่องค้าขาย เทพที่เน้นสุขภาพก็ให้ขอเรื่องสุขภาพ ต้องขอเรื่องที่ถูกกับหน้าที่ของเทพองค์นั้นๆ
หากบูชาตรีมูรติ ให้บูชาองค์พระศิวะ หรือพระพรหมก็ได้ ให้หนุนสร้างสิ่งใหม่ๆเช่น เปิดกิจการใหม่, บริษัทใหม่, เริ่มงานใหม่ ฯลฯให้ใช้ธูปสีเขียวแสดงถึงความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง มีสุขภาพดี สดใส แรกแย้ม
๔. ประเภทบูชาเมื่อดวงดีอยู่แล้ว ให้บูชาเทพที่ช่วยปกปักษ์รักษาเช่น หากเป็นตรีมูรติ ให้บูชาพระวิษณุ เพื่อขอให้สิ่งดีงามที่มีอยู่แล้ว ยั่งยืนถาวรต่อไปมีความรักความอบอุ่น ในครอบครัว มีความสามัคคีปรองดอง ให้ยั่งยืนสืบนานให้ใช้ธูปสีชมพูแสดงถึงความรักความผูกพันสามัคคีปรองดองการปกปักษ์ร
ักษา
๕. ประเภทบูชาเมื่อดวงกำลังตก ให้บูชา "ราหู" เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขอให้ท่านลดหย่อนผ่อนโทษให้เรา ให้วิบากกรรมผ่านไปเร็วๆ และเบาบางลง บางท่านอาจบูชาราหูอยู่แล้ว หรือมีราหูไว้บูชา เช่น จตุคามรามเทพ ก็จัดเป็นราหู ให้ใช้ธูปสีดำ เท่านั้นจึงจะถูกหลักการบูชาราหูที่ถูกต้องจำง่ายๆ ดังนี้
๑. ไหว้ทุกวัน
-ไหว้บนฟ้า เช่น พระรัตนตรัย ใช้ธูปสีทอง
-ไหว้บนดิน เช่น ศาลพระภูมิ ใช้ธูปสีม่วง
๒. ไหว้ตามวาระดวง
- ดวงกำลังขึ้น ไหว้เทพที่หนุนกิจในเรื่องที่กำลังทำอยู่ ใช้ธูปสีเขียว
- ดวงดีอยู่แล้ว ไหว้เทพที่คุ้มครองในเรื่องที่กำลังทำอยู่ ใช้ธูปสีชมพู
- ดวงกำลังตก ไหว้เทพราหู หรือ จตุคาม-รามเทพ ก็ได้ ใช้ธูปสีดำ
๓. ไหว้ตามวาระโอกาสพิเศษ- งานแต่งงานชาวจีน ใช้ธูปสีแดง เท่านั้น
- ต้องการความฉลาดมีปัญญา ใช้ธูปสีเหลือง
การจุดธูปบูชา หรือขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือปฏิบัติกันมายาวนานนับพันๆ ปีแล้ว ลองดูสิว่าที่ผ่านๆ มา เราใช้ธูปสักการะกันถูกต้องตามจำนวนรึเปล่า
ธูป 1 ดอก ไหว้ศพ เจ้าที่ วิญญาณธรรมดา ที่ไม่ได้ขึ้นชั้นเทพ
ธูป 2 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่
ธูป 3 ดอก ใช้บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ธูป 5 ดอก ใช้บูชาพระรัตนตรัย บูชารัชกาลที่ 5 ธาตุทั้งห้า หรือทิศทั้งห้า พระภูมิ
ธูป 7 ดอก ไหว้พระพรหม บูชาพระอาทิตย์ ถือคติคุ้มครองทั้ง 7 วันในสัปดาห์
ธูป 8 ดอก บูชาเทพเจ้าของชาวฮินดู
ธูป 9 ดอก บูชาแก้ว 9 ประการ พระพุทธคุณทั้งเก้า และพระเทพารักษ์
ธูป 10 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่ตามความเชื่อของชาวจีนบางกลุ่ม
ธูป 12 ดอก บูชาเจ้าแม่กวนอิม บูชาพระคุณของแม่
ธูป 16 ดอก บูชาเทพชั้นครู หรือพิธีกลางแจ้งที่มีการอัญเชิญเทวดา ที่สำคัญหมายถึงสวรรค์ 16 ชั้น
ธูป 19 ดอก บูชาเทวดาทั้ง 10 ทิศ
ธูป 21 ดอก บูชาพระคุณของพ่อ
ธูป 32 ดอก ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง 4 ทิศ
ธูป 108 ดอก บูชาสิ่งสูงสุดทั่วทั้งโลกทุกชั้นฟ้า
พึงระลึกไว้เสมอว่า การกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ เพื่อขอพรก็จะไม่เป็นผลอะไร หากคุณเองยังไม่ได้พยายามอย่างที่สุดและหาทุกหนทาง เพื่อขะช่วยเหลือตนเอง
ที่มา...http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=1366
อยากทราบว่ามีวันที่เหมาะสม สำหรับการไหว้ศาลพระภูมิหรือเปล่าครับ
ตอบลบแล้วการนำ ตุ๊กตาชาย-หญิง, ตุ๊กตาช้าง-ม้า และผ้าสามสี มีวันที่เหมาะสมไหมครับ และ ตุ๊กตาชาย-หญิง, ตุ๊กตาช้าง-ม้า ใช้จำนวนเท่าไรหรอครับ
ขอบคุณครับ
วันต้องห้ามคือ
ตอบลบเดือนอ้าย (ธันวาคม) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือนยี่ (มกราคม) วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 3 (กุมภาพันธ์) วันอังคาร
เดือน 4 (มีนาคม) วันจันทร์
เดือน 5 (เมษายน) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือน 6 (พฤษภาคม) วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 7 (มิถุนายน) วันอังคาร
เดือน 8 (กรกฎาคม) วันจันทร์
เดือน 9 (สิงหาคม) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือน 10 (กันยายน) วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 11 (ตุลาคม) วันอังคาร
เดือน 12 (พฤศจิกายน) วันจันทร์
จะสังเกตได้ว่า จะไม่ปรากฏว่ามี วันอาทิตย์ เป็น ข้อห้ามเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ยึดเอาวันอาทิตย์เป็นวันที่ดีที่สุดสำหรับการตั้งศาล เพราะคนโบราณถือกันว่า วันอาทิตย์นั้นแม้จะจะเป็นวันที่มีกำลังแรงดี แต่เป็นวันแรงและวันร้อน ไม่เหมาะที่จะทำการตั้งศาล เพราะบ้านอาจจะ ร้อน จนปราศจากความร่มเย็นเป็นสุข
1.ตุ๊กตาชาย-หญิง อย่างละ 1 คู่
2. ตุ๊กตาช้าง-ม้า อย่างละ 1 คู่
3.ละครยก 2 โรง