อานิสงส์ของการรักษาศีล ๕
ผู้รักษาศีลข้อที่ ๑
คือไม่ฆ่าสัตว์ตัวชีวิต (ไม่ทำปาณาติบาต)
ย่อมได้รับอานิสงส์ถึง ๒๓ ประการ คือ
๑. บริบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ คือร่างกายไม่พิกลพิการ
๒. มีกายสูงและสมส่วน
๓. สมบูรณ์ด้วยความคล่องแคล่ว
๔. เป็นผู้มีเท้าประดิษฐานลงด้วยดี
๕. เป็นผู้สดใสรุ่งเรือง
๖. เป็นคนสะอาด
๗. เป็นคนอ่อนโยน
๘. เป็นคนมีความสุข
๙. เป็นคนแกล้วกล้า
๑๐. เป็นคนมีกำลังมาก
๑๑. มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง
๑๒. มีบริษัทบริวารมิได้พลัดพรากจากตน
๑๓. เป็นคนไม่สะดุ้งตกใจกลัว
๑๔. ข้าศึกศัตรูทำร้ายมิได้
๑๕. ไม่ตายด้วยความเพียรของผู้อื่น
๑๖. มีบริวารหาที่สุดมิได้
๑๗. รูปสวย
๑๘. ทรวดทรงสมส่วน
๑๙. ป่วยไข้น้อย
๒๐. ไม่มีเรื่องเสียใจ
๒๑. เป็นที่รักของชาวโลก
๒๒. มิได้พลัดพรากจากผู้หรือสิ่งที่รักและชอบใจ
๒๓. มีอายุยืน
รักษาศีลข้อ ๑ คือไม่ฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
มีคุณานิสงส์ ล้วนแต่น่าพอใจ ล้วนแต่ทำให้สุขใจ
ผู้รักษาศีลข้อที่ ๒
คือข้อไม่ลักทรัพย์(อทินนาทาน)
ผู้รักษาย่อมได้รับอานิสงส์ถึง ๑๑ ประการ ดังนี้
๑. มีทรัพย์มาก
๒. มีข้าวของและอาหารเพียงพอ
๓. ได้โภคทรัพย์ไม่สิ้นสุด
๔. โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ก็ย่อมได้
๕. โภคทรัพย์ที่ได้ไว้แล้วก็ยั่งยืน
๖. หาสิ่งที่ปรารถนาได้อย่างรวดเร็ว
๗. สมบัติไม่กระจัดกระจายด้วย
ราชภัย โจรภัย อุทกภัย อัคคีภัย หรือญาติฉ้อโกง
๘. หาทรัพย์ได้โดยไม่ถูกแบ่ง
๙. ได้โลกุตตรทรัพย์
๑๐. ไม่เคยรู้ ไม่เคยได้ยินคำว่าไม่มี
๑๑. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
ผู้รักษาศีลข้อ ๓
คือ เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ได้แก่เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
(ไม่ทำชู้กับคู่ครองของผู้อื่น)
ได้รับอานิสงส์ผลถึง ๒๐ ประการ (ปรมตฺถโชติกา) คือ
๑. ไม่มีข้าศึกศัตรู
๒. เป็นที่รักแห่งชนทั่วไป
๓. หาข้าวน้ำเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ อาศัยได้ง่าย
๔. หลับก็เป็นสุข
๕. ตื่นก็เป็นสุข
๖. พ้นภัยในอบาย
๗. ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกะเทยอีก
๘. ไม่โกรธง่าย
๙. ทำอะไรก็ทำได้ โดยเรียบร้อย
๑๐. ทำอะไรก็ทำโดยเปิดเผย
๑๑. คอไม่ตก (คือมี สง่า)
๑๒. หน้าไม่ก้ม (คือมีอำนาจ)
๑๓. มีแต่เพื่อนรัก
๑๔. มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
๑๕. มีลักษณะบริบูรณ์
๑๖. ไม่มีใครรังเกียจ
๑๗. ขวนขวายน้อยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย หากินง่าย
๑๘. อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
๑๙. ไม่ต้องกลัวภัยจากใคร ๆ
๒๐. ไม่ค่อยพลัดพรากจากของที่รัก
ผู้รักษาศีลข้อที่ ๔
คือเว้นจาการพูดปด พูดหลอกลวงปลิ้นปล้อน
ย่อมได้รับอานิสงส์ ๑๔ ประการ (ปรมตฺถโชติกา)
๑. มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
๒. มีวาจาไพเราะสละสลวย
๓. มีไรฟันอันเสมอชิตบริสุทธิ์
๔. ไม่อ้วนเกินไป
๕. ไม่ผอมเกินไป
๖. ไม่ต่ำเกินไป
๗. ไม่สูงเกินไป
๘. ได้แต่สัมผัสอันเป็นสุข
๙. ปากหอมเหมือนดอกบัว
๑๐. มีบริวารล้วนแต่ขยันขันแข็ง
๑๑. มีถ้อยคำที่บุคคลเชื่อได้
๑๒.ลิ้นบางแดงอ่อนเหมือนกลีบดอกบัว
๑๓. ใจไม่ฟุ้งซ่าน
๑๔. ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้
ผู้รักษาศีล ๕
คือเว้นจากการเสพสุราเมรัย สารเสพย์ติดทุกชนิด
ย่อมได้รับอานิสงส์ ๓๕ ประการ (ปรมตฺถโชติการ)
๑. รู้กิจการอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
๒. มีสติตั้งมั่งทุกเมื่อ
๓. ไม่เป็นบ้า
๔. มีความรู้มาก
๕. ไม่หวั่นไหว (ผู้ใดชวนในทางผิดไม่ร่วมมือด้วย)
๖. ไม่งุนงง ไม่เซอะ
๗. ไม่ใบ้
๘. ไม่มัวเมา
๙. ไม่ประมาท
๑๐. ไม่หลงใหล
๑๑. ไม่หวาดสะดุ้งกลัว
๑๒. ไม่มีความรำคาญ
๑๓. ไม่มีใครริษยา
๑๔. มีความขวนขวายน้อย
๑๕. มีแต่ความสุข
๑๖. มีอต่คนนับถือยำเกรง
๑๗. พูดแต่คำสัตย์
๑๘. ไม่ส่อเสียดใคร ไม่มีใครส่อเสียด
๑๙. ไม่พูดหยาบกับใคร ไม่มีใครพูดหยาบด้วย
๒๐. ไม่พูดเล่นโปรยประโยชน์
๒๑. ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน
๒๒. มีความกตัญญู
๒๓. มีกตเวที
๒๔. ไม่ตระหนี่
๒๕. รู้เฉลี่ยเจือจาน
๒๖. มีศีลบริสุทธิ์
๒๗. ซื่อตรง
๒๘. ไม่โกรธใคร
๒๙. มีใจละอายแก่บาป
๓๐. รู้จักกลัวบาป
๓๑. มีความเห็นถูกทาง
๓๒. มีปัญญามาก
๓๓. มีธัมโมชปัญญา (มีปัญญารสอันเกิดแต่ธรรม)
๓๔. เป็นปราชญ์ มีญาณคติ (เป็นคลังแห่งปัญญา)
๓๕. ฉลาดรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และรู้ในสิ่งอันเป็นโทษ
โทษของการละเมิดศีล ๕ มีดังต่อไปนี้
ละเมิดศีลข้อแรกคือ การทำลายชีวิต
หากทำลายชีวิตบุพพการีถือว่าเป็นอนันตริยกรรมคือกรรมหนัก
กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าประหารชีวิตสถานเดียว
การฆ่า การทำลายชีวิตซึ่งเป็นการละเมิดศีลข้อ ๑
ผิดทั้งกฎหมายของบ้านเมือง และผิดศีล ผิดหลักพระพุทธศาสนาด้วย
โทษขอการละเมิดศีลข้อที่ ๑ คือการทำลายชีวิตนั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต (การทำลายชีวิต) ที่บุคคลทำจนคุ้น
ทำจนเคยตัวทำอยู่เรื่อย ๆ ไป ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในกำเนิดเปรตวิสัย
วิบากคือเศษกรรม (ผลกรรมที่เหลือ) ของการทำลายชีวิตอย่างเบาที่สุด
ย่อมชักให้ผู้ทำซึ่งเป็นมนุษย์ กลายเป็นคนอายุสั้น (พลันตาย)
โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๒ คือ อทินนาทาน ได้แก่ลักทรัพย์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ที่บุคคลทำจนคุ้น
ทำจนเคยตัวทำอยู่เรื่อยไป ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
วิบากหรือเศษกรรม เศษของโทษ ที่ละเมิดศีลข้อ ๒
คือลักทรัพย์ (อทินนาทาน)
อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลาย
เป็นคนมีทรัพย์วินาศย่อยยับ (เช่น ถูกไฟ ไหม้หรือโจรผู้ร้ายปล้น เป็นต้น)
โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
กาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้)
ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ
วิบากของกาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้) อย่างเบาที่สุด
ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลายเป็นคนถูกจองเวร
โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๔ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
มุสาวาท (พูดปดหลอกลวง)
ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ
วิบากคือเศษกรรม ของการพูดปดหลอกลวง อย่างเบาที่สุด
ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลายเป็นคนถูกกล่าวตู่ด้วยความเท็จ
โทษขอการละเมิดศีลข้อที่ ๕ คือ สุราเมรัย นั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราเมรัย ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ
ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ
วิบากของการดื่มสุราเมรัย (เสพยาเสพย์ติด) อย่างเบาที่สุด
ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์ กลายเป็นคนบ้า
สำหรับศีลข้อ ๕ การเสพยาเสพย์ติดทุกชนิด เช่น เฮโรอีน ฝิ่น กัญชา
ยาม้า ยาบ้าน ยาอี โคเคน เป็นอาที ก็สงเคราะห์เข้าในศีลข้อนี้
ผู้ใดเสพ ก็ถือว่าเป็นการละเมิดศีลข้อ ๕ นี้ด้วยเช่นกัน
ปกติมนุษย์ก็เมาอยู่แล้วด้วยกิเลส คือ ราคะ โลภะ โทสะและโมหะ
ยิ่งเติมสิ่งเสพย์ติดเข้าไปอีก จึงเมาและบ้ากำลัง ๒ (ยิ่งบ้ากันใหญ่)
เที่ยวจับคนเป็นตัวประกันบ้าง โดดตึกตายบ้าง ฆ่าเมีย ฆ่าลูก
ฆ่าตัวเองฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตัวเองตายบ้าง
เมืองไทยคนไทยเดินอยู่ตามถนนเตียน ๆ แท้ ๆ
ยังถูกจับไปเป็นตัวประกันและถูกทำร้ายจนเสียชีวิต
เพราะฉะนั้น จงรีบเร่งรักษาศีล ๕ กันเถิดครับ
เพื่อกำจัดปัญหาทางสังคมที่เกิดจากการที่มนุษย์ไม่รักษาศีล ๕
จึงเกิดโทษต่าง ๆ นานา มากหลายดังที่ปรากฏเป็นประจักษ์พยานให้เห็นอยู่
ผู้ละเมิดศีลข้อ ๕ ท่านกล่าวว่า
วิบากกรรมที่เหลือย่อมทำให้เป็นบ้าเป็นคนเสียสติ
ในเวสสัตตรทีปนี ภาค ๒ ท่านพรรณนาให้เห็นคนบ้า ๘ จำพวก ดังนี้
. บ้าเพราะกาม
. บ้าเพราะโทสะ
. บ้าเพราะทิฎฐิ
. บ้าเพราะหลงใหล
. บ้านเพราะผีสิง (คือโลภ โกรธ หลง)
. บ้าเพราะดีเดือด
. บ้าเพราะเหล้า และ
. บ้าเพราะประสบเหตุร้าย
.
มีคำอธิบายขยายความดังนี้ครับ
. คนบ้ากาม ย่อมทำอะไรตามใจตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ
. คนบ้าเพราะโทสะ ย่อมมุ่งร้ายตกอยู่ในอำนาจการเบียดเบียน
. คนบ้าเพราะทิฎฐิ จิตย่อมวิปลาส คือมีความเป็นคลาดเคลื่อน
. คนบ้าเพราะหลง ความคิดย่อม เลอะเลือน
. คนบ้าเพราะผีสิง ย่อมตกอยู่ในอำนาจผี (กิเลส)
. คนบ้าเพราะดีกำเริบ ย่อมแล้วแต่ดีจะกำเริบ
. คนบ้าเพราเหล้า ย่อมตกอยู่ในอำนาจการดื่ม
. คนบ้าเพราะประสบเหตุร้ายย่อมตกอยู่ในอำนาจของความเศร้าโศก
วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ความสุขที่ถูกมองข้าม
บ่อเกิดแห่งความสุขมีอยู่กับเราทุกคนในขณะนี้อยู่แล้ว เพียงแต่เรามองข้ามไปหรือไม่รู้จักใช้เท่านั้น เมื่อใดที่เรามีความทุกข์ แทนที่จะมองหาสิ่งนอกตัว ลองพิจารณาสิ่งที่เรามีอยู่และเป็นอยู่ ไม่ว่า มิตรภาพ ครอบครัว สุขภาพ ทรัพย์สิน รวมทั้งจิตใจของเรา ล้วนสามารถบันดาลความสุขให้แก่เราได้ทั้งนั้น ขอเพียงแต่เรารู้จักชื่นชม รู้จักมอง และจัดการอย่างถูกต้องเท่านั้น
แทนที่จะแสวงหาแต่ความสุขจากการได้ ลองหันมาแสวงหาความสุขจากการมี หรือจากสิ่งที่มี ขั้นต่อไปคือการแสวงหาความสุขจากการให้ กล่าวคือยิ่งให้ความสุข ก็ยิ่งได้รับความสุข สุขเพราะเห็นน้ำตาของผู้อื่นเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม และสุขเพราะภาคภูมิใจที่ได้ทำความดีและทำให้ชีวิตมีความหมาย จากจุดนั้นแหละก็ไม่ยากที่เราจะค้นพบความสุขจากการ ไม่มี นั่นคือสุขจากการปล่อยวาง ไม่ยึดถือในสิ่งที่มี และเพราะเหตุนั้น แม้ไม่มีหรือสูญเสียไป ก็ยังเป็นสุขอยู่ได้
เกิดมาทั้งที น่าจะมีโอกาสได้สัมผัสกับความสุขจากการให้ และ การไม่มี เพราะนั่นคือสุขที่สงบเย็นและยั่งยืนอย่างแท้จริง
แทนที่จะแสวงหาแต่ความสุขจากการได้ ลองหันมาแสวงหาความสุขจากการมี หรือจากสิ่งที่มี ขั้นต่อไปคือการแสวงหาความสุขจากการให้ กล่าวคือยิ่งให้ความสุข ก็ยิ่งได้รับความสุข สุขเพราะเห็นน้ำตาของผู้อื่นเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม และสุขเพราะภาคภูมิใจที่ได้ทำความดีและทำให้ชีวิตมีความหมาย จากจุดนั้นแหละก็ไม่ยากที่เราจะค้นพบความสุขจากการ ไม่มี นั่นคือสุขจากการปล่อยวาง ไม่ยึดถือในสิ่งที่มี และเพราะเหตุนั้น แม้ไม่มีหรือสูญเสียไป ก็ยังเป็นสุขอยู่ได้
เกิดมาทั้งที น่าจะมีโอกาสได้สัมผัสกับความสุขจากการให้ และ การไม่มี เพราะนั่นคือสุขที่สงบเย็นและยั่งยืนอย่างแท้จริง
ความจริงของชีวิต
ความจริงของชีวิตก็คือ ทุกชีวิตมีร่างกายกับจิตใจ ซึ่งมันปั่นป่วน แปรปรวน บังคับให้เป็นอย่างใจไม่ได้ ร่างกายหิว ขับถ่าย ปวดเมื่อย ไม่สบาย จิตใจไหลไปไหลมา ดิ้นรน กระสับกระส่าย ซัดส่ายไปทุกวินาที มนุษย์ทุกคนสัมผัสได้ถึงความทุกข์ความแปรปรวนของร่างกายและจิตใจ เราก็พยายามทำทุกวิถีทาง ให้เจ้าก้อนนี้ที่เรายึดว่าเป็นตัวเรามีความสุขที่สุด
คนทั่วๆ ไปมีพฤติกรรม 3 อย่าง
พวกแรก ก็จะวิ่งไปหาสิ่งดีๆ มาให้ตัวเองรู้สึกดีๆ หาความรัก คนรัก บ้านรถดีๆ สัมผัสดีๆ ทางใจ ตา หู จมูก ลิ้น และทางกายสัมผัส หาเกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ ด้วยความหวังว่าถ้าได้สัมผัสแต่อารมณ์ดีๆ ก็จะมีความสุข การหาความสุขในระดับนี้ ถือว่าเป็นการใช้ชีวิตเท่ากับระดับหมาแมว เพราะพวกหมาแมวมันก็รู้จักอยากกินของอร่อย อยากอยู่สบายๆ อยากให้คนรัก พอแย่งของกิน แย่งตัวเมียกันไม่ได้อย่างใจ มันก็กัดกัน ชอบพอใจใครมันก็ผสมพันธุ์กันตรงนั้น ไม่เลือกว่าลูกใคร เมียใคร
พวกที่ 2 ก็จะพยายามฝืนบังคับกดข่ม ข่มใจให้ตัวเองเป็นคนดี ไม่โกรธ ไม่ว่า ไม่คิด กดข่มบังคับจิตใจตัวเองเอาไว้ตลอด ถึงเวลาก็ระเบิดขึ้นมาทีหนึ่ง น่ากลัวกว่าคนธรรมดาเสียอีก ส่วนใหญ่คนอยากเป็นคนดีมักจะทำแบบนี้
พวกที่ 3 ใช้วิธีหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ นั่งสมาธิ หนีเข้าไปมีความสุขข้างในนานๆ บ้างก็นอนหลับไปเลย เพราะเข้าฌานไม่เป็น บางคนก็ใช้วิธีเอาใจไปทำสมาธิจดจ่อกับอารมณ์กรรมฐานอันใดอันหนึ่ง เป็นวิธีหนีชั่วคราว แต่ก็หนีไม่ได้ตลอด เพราะความทุกข์มีประจำอยู่ที่ร่างกายกับจิตใจนี้ ยังไงก็ต้องเจอ
พระพุทธเจ้าสอนทางสายกลาง ไม่ปล่อยใจไปคลุกเคล้าหลงไปในอารมณ์ ไม่กดข่มเพ่งจ้องบังคับไว้ แต่ให้หันหน้ามาเผชิญกับต้นตอของความทุกข์ภายในใจ อย่างกล้าหาญที่สุด ด้วยการเป็นผู้รู้คอยหมั่นสังเกตจิตใจของตัวเอง เวลาดูอะไรใจก็ไหลไปดู ลืมตัวเอง ฟังอะไรไหลไปฟัง ลืมตัวเอง คิดอะไรไหลไปคิด ลืมตัวเอง ใจเราไหลออกไปตลอดโดยที่เราไม่เคยรู้เท่าทัน รู้แต่ว่ามันเป็นทุกข์มาก อยากดิ้นรนให้พ้นไปจากความกระสับกระส่ายนี้
ถ้าลองหมั่นสังเกตใจตัวเองดีๆ จะเห็นว่าบังคับมันไม่ให้ไหลออกไปไม่ได้ มันไม่ใช่เรา มันนึกจะไหลไปมันก็ไป มันเป็นทุกข์ดิ้นรนซัดส่ายตลอดเวลา ใจที่วิ่งไปเกาะเกี่ยวคนอื่นแบบนี้ จริงๆ แล้วไม่ใช่ความรักหรอก มันเป็นเพียงแค่อาการของใจ ที่มันดิ้นรนแล้ววิ่งไปหาสิ่งภายนอกมาสนอง หวังว่าได้มาแล้วจะสงบอยู่ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ดิ้นรนซัดส่ายด้วยเรื่องอื่นอีก
สมัยพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ ในวัดเชตวันมีหมาขี้เรื้อนตัวหนึ่ง มันเกาขี้เรื้อนแกรกๆ อยู่ตลอดเวลา ย้ายที่นอนไปทั่วทั้งวัด เพราะนอนตรงไหนก็คัน มันย้ายที่ไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าสาเหตุของการคันอยู่ที่ตัวมันเอง ไม่ต้องรู้สึกผิด ไม่ต้องบังคับใจไม่ให้คิด เพราะใจถ้าไปกดข่มบังคับไว้จะยิ่งมีกำลังต้านแรงขึ้น แล้วเริ่มคอยดูใจตัวเองไปเลย ใจคิดถึงก็ไม่ห้าม มีความทุกข์เกิดขึ้น ก็ดูมันซิว่ามันจะอยู่นานสักแค่ไหน แล้วเราจะเริ่มเห็นว่า ความทุกข์ก็เป็นแค่ใจที่มัวๆ ซัวๆ เหี่ยวๆ เป็นสิ่งที่ถูกรู้เหมือนกันกับความสุขที่เป็นใจฟูๆ โปร่งๆ หวานๆ จะมัวหรือจะฟูเดี๋ยวก็หายไปทั้งนั้น ไม่ได้จีรังยั่งยืนถาวร พอเราเริ่มเห็นว่าความทุกข์หรือความสุขก็เป็นของชั่วคราว ความยึดถือในการทำตามใจที่ดิ้นรนจะลดน้อยลงไปตามลำดับ ทำใจสบายๆ ตั้งต้นคอยสังเกตใจตัวเอง รู้ทันบ้างเผลอบ้างก็ไม่ต้องกลัว เราเผลอมานานแสนนาน เผลออีกหน่อยก็ไม่เป็นไร ใจจะเริ่มเห็นเริ่มเข้าใจความจริง
ปัญญาเท่านั้นที่เป็นเครื่องตัดสิน ทำให้วางได้ ถ้ายังไม่เข้าใจก็ยังไม่วาง
คนทั่วๆ ไปมีพฤติกรรม 3 อย่าง
พวกแรก ก็จะวิ่งไปหาสิ่งดีๆ มาให้ตัวเองรู้สึกดีๆ หาความรัก คนรัก บ้านรถดีๆ สัมผัสดีๆ ทางใจ ตา หู จมูก ลิ้น และทางกายสัมผัส หาเกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ ด้วยความหวังว่าถ้าได้สัมผัสแต่อารมณ์ดีๆ ก็จะมีความสุข การหาความสุขในระดับนี้ ถือว่าเป็นการใช้ชีวิตเท่ากับระดับหมาแมว เพราะพวกหมาแมวมันก็รู้จักอยากกินของอร่อย อยากอยู่สบายๆ อยากให้คนรัก พอแย่งของกิน แย่งตัวเมียกันไม่ได้อย่างใจ มันก็กัดกัน ชอบพอใจใครมันก็ผสมพันธุ์กันตรงนั้น ไม่เลือกว่าลูกใคร เมียใคร
พวกที่ 2 ก็จะพยายามฝืนบังคับกดข่ม ข่มใจให้ตัวเองเป็นคนดี ไม่โกรธ ไม่ว่า ไม่คิด กดข่มบังคับจิตใจตัวเองเอาไว้ตลอด ถึงเวลาก็ระเบิดขึ้นมาทีหนึ่ง น่ากลัวกว่าคนธรรมดาเสียอีก ส่วนใหญ่คนอยากเป็นคนดีมักจะทำแบบนี้
พวกที่ 3 ใช้วิธีหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์ นั่งสมาธิ หนีเข้าไปมีความสุขข้างในนานๆ บ้างก็นอนหลับไปเลย เพราะเข้าฌานไม่เป็น บางคนก็ใช้วิธีเอาใจไปทำสมาธิจดจ่อกับอารมณ์กรรมฐานอันใดอันหนึ่ง เป็นวิธีหนีชั่วคราว แต่ก็หนีไม่ได้ตลอด เพราะความทุกข์มีประจำอยู่ที่ร่างกายกับจิตใจนี้ ยังไงก็ต้องเจอ
พระพุทธเจ้าสอนทางสายกลาง ไม่ปล่อยใจไปคลุกเคล้าหลงไปในอารมณ์ ไม่กดข่มเพ่งจ้องบังคับไว้ แต่ให้หันหน้ามาเผชิญกับต้นตอของความทุกข์ภายในใจ อย่างกล้าหาญที่สุด ด้วยการเป็นผู้รู้คอยหมั่นสังเกตจิตใจของตัวเอง เวลาดูอะไรใจก็ไหลไปดู ลืมตัวเอง ฟังอะไรไหลไปฟัง ลืมตัวเอง คิดอะไรไหลไปคิด ลืมตัวเอง ใจเราไหลออกไปตลอดโดยที่เราไม่เคยรู้เท่าทัน รู้แต่ว่ามันเป็นทุกข์มาก อยากดิ้นรนให้พ้นไปจากความกระสับกระส่ายนี้
ถ้าลองหมั่นสังเกตใจตัวเองดีๆ จะเห็นว่าบังคับมันไม่ให้ไหลออกไปไม่ได้ มันไม่ใช่เรา มันนึกจะไหลไปมันก็ไป มันเป็นทุกข์ดิ้นรนซัดส่ายตลอดเวลา ใจที่วิ่งไปเกาะเกี่ยวคนอื่นแบบนี้ จริงๆ แล้วไม่ใช่ความรักหรอก มันเป็นเพียงแค่อาการของใจ ที่มันดิ้นรนแล้ววิ่งไปหาสิ่งภายนอกมาสนอง หวังว่าได้มาแล้วจะสงบอยู่ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ดิ้นรนซัดส่ายด้วยเรื่องอื่นอีก
สมัยพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ ในวัดเชตวันมีหมาขี้เรื้อนตัวหนึ่ง มันเกาขี้เรื้อนแกรกๆ อยู่ตลอดเวลา ย้ายที่นอนไปทั่วทั้งวัด เพราะนอนตรงไหนก็คัน มันย้ายที่ไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าสาเหตุของการคันอยู่ที่ตัวมันเอง ไม่ต้องรู้สึกผิด ไม่ต้องบังคับใจไม่ให้คิด เพราะใจถ้าไปกดข่มบังคับไว้จะยิ่งมีกำลังต้านแรงขึ้น แล้วเริ่มคอยดูใจตัวเองไปเลย ใจคิดถึงก็ไม่ห้าม มีความทุกข์เกิดขึ้น ก็ดูมันซิว่ามันจะอยู่นานสักแค่ไหน แล้วเราจะเริ่มเห็นว่า ความทุกข์ก็เป็นแค่ใจที่มัวๆ ซัวๆ เหี่ยวๆ เป็นสิ่งที่ถูกรู้เหมือนกันกับความสุขที่เป็นใจฟูๆ โปร่งๆ หวานๆ จะมัวหรือจะฟูเดี๋ยวก็หายไปทั้งนั้น ไม่ได้จีรังยั่งยืนถาวร พอเราเริ่มเห็นว่าความทุกข์หรือความสุขก็เป็นของชั่วคราว ความยึดถือในการทำตามใจที่ดิ้นรนจะลดน้อยลงไปตามลำดับ ทำใจสบายๆ ตั้งต้นคอยสังเกตใจตัวเอง รู้ทันบ้างเผลอบ้างก็ไม่ต้องกลัว เราเผลอมานานแสนนาน เผลออีกหน่อยก็ไม่เป็นไร ใจจะเริ่มเห็นเริ่มเข้าใจความจริง
ปัญญาเท่านั้นที่เป็นเครื่องตัดสิน ทำให้วางได้ ถ้ายังไม่เข้าใจก็ยังไม่วาง
การปรับใจให้เป็นสุข
การปรับใจให้เป็นสุขด้วยมาตรการ 3 อย่าง
หนึ่ง เมื่อพบปัญหาในชีวิต แม้น้อยนิดหนักหนากว่ากล่าวขาน
จงหยุดคิด คุมสติ ดำริการ ทุกคนพานพบปัญหาไม่ว่าใคร
อย่าสยบซบเซาให้เศร้าสร้อย คับแค้นน้อย วาสนาชะตาไฉน
เป็นมนุษย์จะสะดุดหยุดอย่างไร ยังหายใจจงตั้งหลักรู้จักตรอง
หาแนวทางวางจิตคิดแก้ไข ปัญหาใหญ่เล็กน้อยคอยสนอง
จงมั่นคงอย่าให้อารมณ์ครอง เพราะไตร่ตรองผิดพลาดขาดพิจารณา
สอง พบปัญหา ร้ายอย่าพ่ายแพ้ ต้องแน่วแน่ตั้งหลักแม้หนักหนา
คิดให้ได้ มิมีใดคงเส้นวา คอยวิกฤติเวลาล่วงเลยไป
เหมือนเช้าสายบ่ายค่ำร่ำสลับ แล้วเวียนกลับหมุนเปลี่ยนมิสังสัย
ไม่มีใดคงที่ตลอดไป จงเตรียมใจรับปัญหาอย่าท้อทน
แล้วมันก็ผ่านพ้น ไปจนได้ ความสดใสกลับจะเกิดประเสริฐผล
ทั้งจิตใจก็ไร้ทุกข์มิร้อนรน พร้อมผจญ สู้ปัญหา ด้วยกล้าเผชิญ
สาม ปัญหา เกิดขึ้น จากผู้อื่น ประพฤติฝืนจิตเราเฝ้าห่างเหิน
กระทำการ ดุจพาลเหมือนล่วงเกิน อย่าขัดเขินให้อภัยในผู้คน
ตั้งจิตไว้ไม่มีใครอยากก่อเหตุ แต่อาเพศ เกิดอนาจ ขาดเหตุผล
เพราะสภาพจิตใจเขาทุกข์ทน หรือดิ้นรน สู้ปัญหา คร่ารุมเร้า
แล้วใจเราจะสงบสยบนิ่ง อภัยจริงให้ผู้คนไม่โฉดเขลา
สว่างไสวในดวงจิตที่ขัดเกลา ไม่อับเฉาเคืองแค้นแน่นกมล
หากปรับจิตคิดได้ในสามอย่าง จะระวางเกลียดโกรธพิโรธฉงน
ใจมั่นคงเผชิญชีวิตมิทุกข์ทน ไม่ร้อนรนสุขสบายทั้งกายใจ
หนึ่ง เมื่อพบปัญหาในชีวิต แม้น้อยนิดหนักหนากว่ากล่าวขาน
จงหยุดคิด คุมสติ ดำริการ ทุกคนพานพบปัญหาไม่ว่าใคร
อย่าสยบซบเซาให้เศร้าสร้อย คับแค้นน้อย วาสนาชะตาไฉน
เป็นมนุษย์จะสะดุดหยุดอย่างไร ยังหายใจจงตั้งหลักรู้จักตรอง
หาแนวทางวางจิตคิดแก้ไข ปัญหาใหญ่เล็กน้อยคอยสนอง
จงมั่นคงอย่าให้อารมณ์ครอง เพราะไตร่ตรองผิดพลาดขาดพิจารณา
สอง พบปัญหา ร้ายอย่าพ่ายแพ้ ต้องแน่วแน่ตั้งหลักแม้หนักหนา
คิดให้ได้ มิมีใดคงเส้นวา คอยวิกฤติเวลาล่วงเลยไป
เหมือนเช้าสายบ่ายค่ำร่ำสลับ แล้วเวียนกลับหมุนเปลี่ยนมิสังสัย
ไม่มีใดคงที่ตลอดไป จงเตรียมใจรับปัญหาอย่าท้อทน
แล้วมันก็ผ่านพ้น ไปจนได้ ความสดใสกลับจะเกิดประเสริฐผล
ทั้งจิตใจก็ไร้ทุกข์มิร้อนรน พร้อมผจญ สู้ปัญหา ด้วยกล้าเผชิญ
สาม ปัญหา เกิดขึ้น จากผู้อื่น ประพฤติฝืนจิตเราเฝ้าห่างเหิน
กระทำการ ดุจพาลเหมือนล่วงเกิน อย่าขัดเขินให้อภัยในผู้คน
ตั้งจิตไว้ไม่มีใครอยากก่อเหตุ แต่อาเพศ เกิดอนาจ ขาดเหตุผล
เพราะสภาพจิตใจเขาทุกข์ทน หรือดิ้นรน สู้ปัญหา คร่ารุมเร้า
แล้วใจเราจะสงบสยบนิ่ง อภัยจริงให้ผู้คนไม่โฉดเขลา
สว่างไสวในดวงจิตที่ขัดเกลา ไม่อับเฉาเคืองแค้นแน่นกมล
หากปรับจิตคิดได้ในสามอย่าง จะระวางเกลียดโกรธพิโรธฉงน
ใจมั่นคงเผชิญชีวิตมิทุกข์ทน ไม่ร้อนรนสุขสบายทั้งกายใจ
ค ว า ม ผู ก พ ัน
....ความผูกพัน หมายถึง การเกาะเกี่ยวกันทางใจด้วยความรักหรือความโกรธเกลียด หรือความหลง ทำให้ปล่อยวางหรือลืมเรืองนั้นเสียไม่ได้ สิ่งนั้นก็จะเกาะติดอยู่ในใจติดตามตัวไปทุกแห่งทุกหน ทำให้หาความผาสุก ความเป็นอิสระไม่ได้ เหมือนขาที่ถูกคล้องไว้ด้วยโซ่ตรวน ย่อมจะหนักและเดินลำบาก การมีความผูกพันกับสิ่งใด คนใด เรื่องใด ก็ไม่ต่างกับการมีโซ่ตรวนล่ามขาอยู่ฉะนั้น การผูกพันกันด้วยความรัก ใช่ว่าจะทำให้เกิดความสุขเสมอไป เมือมีความรักก็ย่อมมีความห่วงใยเป็นธรรมดา อยากให้คนที่ตนรักเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ความอยากของคนเราใช่ว่าจะได้ดังที่อยากเสมอไปก็หาไม่ บางครั้งก็ไม่สมอยาก พระพุทธองค์จึงได้ทรงตรัสสอนว่า "ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง แปลว่า ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์" ผูกพันด้วยความโกรธ ความเกลียด โดยไม่ละ ไม่วาง ยังผูกใจเจ็บแค้นกันอยู่ตลอดเวลา ก็เหมือน เอาโซ่ตรวนล่ามกันไว้เช่นกัน การที่จะอธิษฐานจิตว่า "เกิดชาติใดขออย่าให้ได้พบได้เจอคนอย่างนี้อีกเลย" ก็คงเป็นเรื่องยาก เพราะใจเราผูกพันกับเขาด้วยความโกรธ ความเกลียด ความชิงชังอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยแกะโซ่ตรวนที่ล่ามติดกับเขาไว้ แล้วจะพ้นจากคนที่เราไม่ชอบได้อย่างไร ตราบใดที่ยังไม่แกะโซ่ตรวนออกก็ต้องตามผจญกรรมกันไปทุกภพทุกชาติ ไม่ว่าจะอธิษฐานอย่างไร ถ้าไม่ชอบใคร ไม่อยากเจอใคร ต้องทำใจไม่ให้นึกถึงคนนั้น เรื่องเกี่ยวกับคนนั้น หรือถ้านึกถึงก็ให้น้อยที่สุด ยิ่งอโหสิกรรมหรือให้อภัยกันเสีย ก็จะมีโอกาสหนีพ้นจากกัน เปรียบเหมือนแกะโซ่ตรวนออกแล้ว ก็ย่อมเป็นอิสระ ไม่ต้องไปเผชิญเวรเผชิญกรรมกันอีกทุกภพทุกชาติ ยิ่งทำดี มีเมตตากรุณากับผู้ที่เราไม่ชอบ ผลแห่กรรมดีที่เรากระทำยิ่งสูงกว่าคนที่เราไม่ชอบเท่าใด ภพ ภูมิก็จะต่างกันเท่านั้น ยิ่งเกลียด ยิ่งไม่อยากเห็นหน้ากัน ก็อย่าฝังใจอยู่ทุกวี่วัน ยิ่งจะดึงเขาเข้ามาหาเรามากขึ้นเท่านั้น จึงต้องตามผจญกันไปทุกชาติ อยากให้พ้นจากใคร ก็จงให้อภัยทาน จะได้หมดเวรหมดกรรมกัน
การผูกพันด้วยความหลง เป็นเรื่องหนักกว่าเพื่อน เพราะผู้ที่มีความหลงก็คือ เห็นสิ่งที่ผิดเป็นถูก เห็นสิ่งที่ไม่งามเป็นสิ่งที่งาม ฯลฯ ที่โบราณเรียกว่า "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว" คือเห็นสิ่งที่เป็นอันตราย (กงจักรเป็นอาวุธที่อันตราย) ว่าเป็นของที่น่ารัก น่าบูชา แม้ใครจะบอก ใครจะเตือน ก็ไม่สามารถจะเอาชนะความงมงายหรือความหลงได้ ผู้ที่มีความผูกพันด้วยความหลง จึงจัดเป็นผู้ที่น่าสงสารที่สุด จะอยู่ในสภาพที่เรียกว่า "มดไต่ขอบกระด้ง" หาทางออกไม่ได้ ก็วนเวียนอยู่อย่างนั้นไม่รู้จบ ชีวิตที่มีความผูกพันกับสิ่งใดมากเกินไป ไม่เคยให้ความสุขแก่ผู้ใดเลย รักมากก็ห่วงมาก กลุ้มมาก เกลียดมากก็ร้อนใจมาก จะเห็นว่าล้วนเป็นบ่อเกิดแหงทุกข์ทั้งสิ้น
การเดินสายกลาง อย่าไปผูกพันยึดติดกับสิ่งใด และรู้จักปล่อยวาง จะเป็นหนทางดับทุกข์ได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าเราเลี้ยงสุนัข เรารักเขามาก ผูกพันกับเขาเหลือเกิน แต่อายุขัยของสุนัขน้อยกว่าคนมาก จึงมักตายก่อน เจ้าของผู้มีความผูกพันกับสุนัขตัวนั้น ก็จะเศร้าสร้อยไปพักหนึ่งทีเดียว ความรักความปรานีเราจะให้แก่ใครก็ได้ และเป็นสิ่งที่ควรให้ แต่การผูกพัน การยึดติดนั้นเป็นเรื่องอันตราย เป็นเหตุแห่งทุกข์ ไม่อยากมีทุกข์ ก็อย่ายึดติด หรือผูกพันกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด รู้จักปล่อยวาง รู้จักหาอิสรภาพให้แก่ตนเอง จะเป็นสุขในที่สุด...
การผูกพันด้วยความหลง เป็นเรื่องหนักกว่าเพื่อน เพราะผู้ที่มีความหลงก็คือ เห็นสิ่งที่ผิดเป็นถูก เห็นสิ่งที่ไม่งามเป็นสิ่งที่งาม ฯลฯ ที่โบราณเรียกว่า "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว" คือเห็นสิ่งที่เป็นอันตราย (กงจักรเป็นอาวุธที่อันตราย) ว่าเป็นของที่น่ารัก น่าบูชา แม้ใครจะบอก ใครจะเตือน ก็ไม่สามารถจะเอาชนะความงมงายหรือความหลงได้ ผู้ที่มีความผูกพันด้วยความหลง จึงจัดเป็นผู้ที่น่าสงสารที่สุด จะอยู่ในสภาพที่เรียกว่า "มดไต่ขอบกระด้ง" หาทางออกไม่ได้ ก็วนเวียนอยู่อย่างนั้นไม่รู้จบ ชีวิตที่มีความผูกพันกับสิ่งใดมากเกินไป ไม่เคยให้ความสุขแก่ผู้ใดเลย รักมากก็ห่วงมาก กลุ้มมาก เกลียดมากก็ร้อนใจมาก จะเห็นว่าล้วนเป็นบ่อเกิดแหงทุกข์ทั้งสิ้น
การเดินสายกลาง อย่าไปผูกพันยึดติดกับสิ่งใด และรู้จักปล่อยวาง จะเป็นหนทางดับทุกข์ได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าเราเลี้ยงสุนัข เรารักเขามาก ผูกพันกับเขาเหลือเกิน แต่อายุขัยของสุนัขน้อยกว่าคนมาก จึงมักตายก่อน เจ้าของผู้มีความผูกพันกับสุนัขตัวนั้น ก็จะเศร้าสร้อยไปพักหนึ่งทีเดียว ความรักความปรานีเราจะให้แก่ใครก็ได้ และเป็นสิ่งที่ควรให้ แต่การผูกพัน การยึดติดนั้นเป็นเรื่องอันตราย เป็นเหตุแห่งทุกข์ ไม่อยากมีทุกข์ ก็อย่ายึดติด หรือผูกพันกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด รู้จักปล่อยวาง รู้จักหาอิสรภาพให้แก่ตนเอง จะเป็นสุขในที่สุด...
วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ปรัชญาผ้าขี้ริ้ว, สิ่งที่เราดูว่าสกปรกแต่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
ผ้าขี้ริ้วยอมสกปรกเพื่อให้สิ่งอื่นสะอาด
เสน่ห์ของคนอยู่ที่ยอมลำบากเพื่อให้ผู้อื่นเป็นสุข
พ่อแม่ยอมเหนื่อยเพื่อให้ลูกหลานอยู่สุขสบาย
ความสุขแท้ของคนคือการได้ยืนแอบยิ้ม อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้อื่น
ผ้าขี้ริ้วดูดซับความสกปรกได้ แต่ก็สลัดความสกปรกออกจากตัวได้ตลอดเวลา
เสน่ห์ของคนอยู่ที่รู้ตัวเองว่าสกปรก ถึงเวลาต้องชำระล้างแล้ว
มิใช่อมความสกปรกไว้แล้ว แกล้งบอกว่าตนเองสะอาด
ผ้าขี้ริ้วเป็นผ้าที่สะอาดที่สุด ในขณะที่คนมองว่าสกปรกที่สุด
เหมือนคนที่ฝึกหัดขัดเกลาตนเอง รู้จักถ่อมตนและอ่อนโยน
ไม่โอหังอวดดีให้เป็นที่รังเกียจหมั่นไส้ของคนอื่น
เขาจะเป็นคนที่มีคุณค่า ไม่ว่าจะมาจากสกุลใด การศึกษามากหรือน้อยก็ตาม
เป็นผู้ใฝ่รู้แต่ไม่อวดดี เหมือนผ้าขี้ริ้วห่อทอง
ผ้าขี้ริ้วถึงจะเป็นผ้าไม่มีราคา แต่มีคุณค่ายิ่งใหญ่ได้
เหมือนคนที่พยายามทำตนให้มีคุณค่า ด้วยการทำงานมิใช่ด้วยการประจบ
ทำตนให้มีประโยชน์ ให้มีค่า ไม่ใช่งอมืองอเท้า น้อยเนื้อต่ำใจในวาสนาชะตาชีวิต
ต้องสร้างกำลังใจให้ตนเองอย่ารอคอยจากคนอื่น
ผ้าขี้ริ้วไม่เกี่ยงงอนว่าจะถูกใช้เช็ดถูอะไร
เหมือนคนที่ยอมตัวอาสาทำงานที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ปริปากบ่น
รู้จักอาสาคน อาสาทำงาน ต้องตั้งใจทำงานโดยไม่เกี่ยงงอน ไม่ว่าจะเป็นงานใด ๆก็ตาม
คนที่ตกงานเพราะไม่ยอมทำงาน
ผ้าขี้ริ้วยอมให้ถูกใช้งานในที่สกปรกที่สุด
เหมือนคนที่ยอมทำในสิ่งที่คนทั้งหลายรังเกียจ ที่เขาเห็นว่าเป็นงานชั้นต่ำ
แต่ก็ตั้งใจทำให้เป็นของมีค่าขึ้นมาได้ หรือยินดีในการบริการ
เหมือนคนที่อิ่มเอิบเมื่อได้บริการรับใช้คนอื่น รับใช้สังคม
ดีใจเมื่อคนยินดีมาใช้บริการความรู้ ความสามารถของตน
และยินดีที่ได้เสนอตัวเข้าไปบริการมากกว่าเข้าไปบริหาร
ผ้าขี้ริ้วพอใจที่ได้อยู่เบื้องหลังความสะอาด
เหมือนคนควรพอใจที่ได้อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จของคนอื่น
ต้องมีความพอใจที่จะทำงานปิดทองหลังพระ เป็นนายอินหรือนางอิน
ผู้ปิดทองหลังพระ มีความสุขและภูมิใจที่ได้มอบความสำเร็จให้คนอื่น
มีมากที่ผู้น้อยบางคน ทำงานแล้วทำให้ผู้ใหญ่เล็กลง ขณะที่ตัวเองโตขึ้น
ผ้าขี้ริ้วทนทานต่อการขัดถูซักล้างไม่เปราะบาง
เหมือนคนที่มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา แม้จะเหน็ดเหนื่อยเพียงใดก็อดทนได้
เพื่อให้สำเร็จ ประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น มีจิตใจหนักแน่นไม่เปราะบางหักง่าย
คือไม่เป็นคนทุกข์ง่ายใจเบา แต่นิ่งและหนักแน่นคงดุจแผ่นดิน
ผ้าขี้ริ้วแม้จะถูกมองว่าเป็นผ้าขี้ริ้ว แต่ไม่ทำตัวให้ขี้เหร่
เหมือนคนที่รู้ตัวเองว่า กำลังถูกึนปรามาสสบประมาท จะต้องตั้งใจเอาชนะอุปสรรคครั้งนั้นให้ได้
ไม่พ่ายแพ้ต่อคำปรามาสของผู้อื่น รู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรและมีกำลังใจในสิ่งนั้น
มองเห็นคุณค่าจากสิ่งที่คนทั้งหลายมองว่าไร้ค่า เมื่อมีปัญหาให้หัดมองสองด้านเสมอ
ผ้าขี้ริ้วมีเสน่ห์เพราะยอมสัมผัสกับสิ่งสกปรก
ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน หากทนความทุกข์ยากลำบาก ยอมสัมผัสกับงานที่ต่ำต้อยได้ก็จะมีเสน่ห์ และมีความหมาย
ทุกคนจึงควรพากเพียรพยายามสร้างเสน่ห์ให้กับชีวิต อย่างที่ผ้าขี้ริ้วสร้างเสน่ห์ให้กับตนเอง
เสน่ห์ของคนอยู่ที่ยอมลำบากเพื่อให้ผู้อื่นเป็นสุข
พ่อแม่ยอมเหนื่อยเพื่อให้ลูกหลานอยู่สุขสบาย
ความสุขแท้ของคนคือการได้ยืนแอบยิ้ม อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้อื่น
ผ้าขี้ริ้วดูดซับความสกปรกได้ แต่ก็สลัดความสกปรกออกจากตัวได้ตลอดเวลา
เสน่ห์ของคนอยู่ที่รู้ตัวเองว่าสกปรก ถึงเวลาต้องชำระล้างแล้ว
มิใช่อมความสกปรกไว้แล้ว แกล้งบอกว่าตนเองสะอาด
ผ้าขี้ริ้วเป็นผ้าที่สะอาดที่สุด ในขณะที่คนมองว่าสกปรกที่สุด
เหมือนคนที่ฝึกหัดขัดเกลาตนเอง รู้จักถ่อมตนและอ่อนโยน
ไม่โอหังอวดดีให้เป็นที่รังเกียจหมั่นไส้ของคนอื่น
เขาจะเป็นคนที่มีคุณค่า ไม่ว่าจะมาจากสกุลใด การศึกษามากหรือน้อยก็ตาม
เป็นผู้ใฝ่รู้แต่ไม่อวดดี เหมือนผ้าขี้ริ้วห่อทอง
ผ้าขี้ริ้วถึงจะเป็นผ้าไม่มีราคา แต่มีคุณค่ายิ่งใหญ่ได้
เหมือนคนที่พยายามทำตนให้มีคุณค่า ด้วยการทำงานมิใช่ด้วยการประจบ
ทำตนให้มีประโยชน์ ให้มีค่า ไม่ใช่งอมืองอเท้า น้อยเนื้อต่ำใจในวาสนาชะตาชีวิต
ต้องสร้างกำลังใจให้ตนเองอย่ารอคอยจากคนอื่น
ผ้าขี้ริ้วไม่เกี่ยงงอนว่าจะถูกใช้เช็ดถูอะไร
เหมือนคนที่ยอมตัวอาสาทำงานที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ปริปากบ่น
รู้จักอาสาคน อาสาทำงาน ต้องตั้งใจทำงานโดยไม่เกี่ยงงอน ไม่ว่าจะเป็นงานใด ๆก็ตาม
คนที่ตกงานเพราะไม่ยอมทำงาน
ผ้าขี้ริ้วยอมให้ถูกใช้งานในที่สกปรกที่สุด
เหมือนคนที่ยอมทำในสิ่งที่คนทั้งหลายรังเกียจ ที่เขาเห็นว่าเป็นงานชั้นต่ำ
แต่ก็ตั้งใจทำให้เป็นของมีค่าขึ้นมาได้ หรือยินดีในการบริการ
เหมือนคนที่อิ่มเอิบเมื่อได้บริการรับใช้คนอื่น รับใช้สังคม
ดีใจเมื่อคนยินดีมาใช้บริการความรู้ ความสามารถของตน
และยินดีที่ได้เสนอตัวเข้าไปบริการมากกว่าเข้าไปบริหาร
ผ้าขี้ริ้วพอใจที่ได้อยู่เบื้องหลังความสะอาด
เหมือนคนควรพอใจที่ได้อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จของคนอื่น
ต้องมีความพอใจที่จะทำงานปิดทองหลังพระ เป็นนายอินหรือนางอิน
ผู้ปิดทองหลังพระ มีความสุขและภูมิใจที่ได้มอบความสำเร็จให้คนอื่น
มีมากที่ผู้น้อยบางคน ทำงานแล้วทำให้ผู้ใหญ่เล็กลง ขณะที่ตัวเองโตขึ้น
ผ้าขี้ริ้วทนทานต่อการขัดถูซักล้างไม่เปราะบาง
เหมือนคนที่มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา แม้จะเหน็ดเหนื่อยเพียงใดก็อดทนได้
เพื่อให้สำเร็จ ประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น มีจิตใจหนักแน่นไม่เปราะบางหักง่าย
คือไม่เป็นคนทุกข์ง่ายใจเบา แต่นิ่งและหนักแน่นคงดุจแผ่นดิน
ผ้าขี้ริ้วแม้จะถูกมองว่าเป็นผ้าขี้ริ้ว แต่ไม่ทำตัวให้ขี้เหร่
เหมือนคนที่รู้ตัวเองว่า กำลังถูกึนปรามาสสบประมาท จะต้องตั้งใจเอาชนะอุปสรรคครั้งนั้นให้ได้
ไม่พ่ายแพ้ต่อคำปรามาสของผู้อื่น รู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรและมีกำลังใจในสิ่งนั้น
มองเห็นคุณค่าจากสิ่งที่คนทั้งหลายมองว่าไร้ค่า เมื่อมีปัญหาให้หัดมองสองด้านเสมอ
ผ้าขี้ริ้วมีเสน่ห์เพราะยอมสัมผัสกับสิ่งสกปรก
ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน หากทนความทุกข์ยากลำบาก ยอมสัมผัสกับงานที่ต่ำต้อยได้ก็จะมีเสน่ห์ และมีความหมาย
ทุกคนจึงควรพากเพียรพยายามสร้างเสน่ห์ให้กับชีวิต อย่างที่ผ้าขี้ริ้วสร้างเสน่ห์ให้กับตนเอง
ธูป กับ การไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
1.จำนวนธูป
การใช้ธูปจำนวนต่างๆ กันนั้น แตกต่างตามความเชื่อและประเพณีแนวคิดต่างๆ อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมไทย เป็นวัฒธรรมผสม ดังนั้นจึงต้องเข้าใจแก่นสาร และเปลือกนอก อันเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม
แนวคิดที่หนึ่ง "ธูป หนึ่ง ดอก แทนหนึ่งสิ่ง"เช่น หากไหว้สามดอก ก็แทน พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ เป็นต้น
แนวคิดที่สอง "จำนวนธูป ตามกำลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์"เช่น ทางโหราศาสตร์ อาจจะใช้ ธูป ๘ ดอก เป็นกำลังของราหู เมื่อไหว้ราหู หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในข่ายของราหู เช่น จตุคาม รามเทพ ก็ใช้ธูป ๘ ดอก จึงนับว่าถูกต้องตามหลักกำลังของโหราศาสตร์
แนวคิดที่สาม "จำนวนธูป ตามประเภทสิ่งศักดิ์สิทธิ์"เช่น คนตายไหว้เพียงหนึ่งดอก (แทนคนๆ นั้น) แต่หากเป็นพระมหากษัตริย์ที่จากโลกไปแล้ว จะใช้ธูป ๗ ดอก ด้วยถือเคล็ดว่า พระมหากษัตริย์จะใช้เลข ๗ เท่านั้น เช่น ฉัตรก็ใช้ ๗ ชั้น เป็นต้น นอกจากนี้ ทางพราหมณ์ อาจกำหนดให้จำนวนธูปในการไหว้เทพแต่ละองค์แตกต่างกัน ซึ่งก็ควรไหว้ตามนั้นให้ถูกจารีตประเพณี
ทั้งนี้ สามารถผสมผสานเลือกใช้แนวคิดทั้งสามในการเลือกจำนวนธูปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่ถือว่าผิด เพราะถือหลักอะไรก็ได้ เป็นประเพณีเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องแก่นสารธรรม ที่จะมาบอกว่าถูกหรือผิดประการใด
2. สีของธูป
ปกติเรามักเห็นธูปมีสีเดียวตามที่ขายอยู่ทั่วไป แต่หากถือเคล็ดตามโหราศาสตร์แล้วละก็ การใช้สีเดียวกันกับทุกอย่างเป็นสิ่งไม่ดี เช่น การบูชาราหู ทุกอย่างควรเป็นสีดำเท่านั้น หรือการไปงานมงคลสมรสของชาวจีน ทุกอย่างควรเป็นสีแดง ดังนั้นธูปก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้ เพื่อให้ถูกต้องตามจารีตประเพณี ต้องทำความเข้าใจว่า
ควรเลือกสีธูปให้เหมาะกับกิจการต่างๆ ดังนี้
๑. ธูปสีทอง ใช้บูชาสิ่งสูงสุด คือ พระรัตนตรัย, พระอรหันต์, พระพุทธเจ้าการไหว้ด้วยธูปสีทองนี้ ใช้ไหว้ได้ทุกวันยิ่งดี เพราะทำให้จิตใจบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
๒. ธูปสีม่วง ใช้บูชาดวงวิญญาณลึกลับที่คุ้มครองเรา เช่น เจ้าที่, พระภูมิการไหว้ด้วยธูปสีม่วงนี้ เพื่อขออำนาจสิ่งลี้ลับที่อยู่ใกล้ชิดเรามากกว่าพระพุทธซึ่งเข้านิพพานแล้ว ให้ท่านมาสะสมบุญบารมีโดยช่วยเหลือเราในกิจงานต่างๆ
๓. ธูปสีดำ ใช้บูชาเฉพาะราหูเท่านั้น หรือในงานศพ ก็นับว่าใช้ได้ หรือเทพบางองค์ที่นับว่าชงเข้ากับสีดำ การไหว้ด้วยธูปดำนี้ ใช้กรณีดวงตก มีคราวเคราะห์ ก็ให้บูชาราหูเพื่อลดหย่อนผ่อนโทษ
๔. ธูปสีเขียว ใช้บูชาเทพต่างๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนา และไม่ใช่ราหูแต่ใช้ในกรณี ขอพรให้มีความเจริญรุ่งเรืองงอกงาม หรือสุขภาพดี
๕. ธูปสีชมพู ใช้บูชาเทพต่างๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนา และไม่ใช่ราหูแต่ใช้ในกรณี ขอพรให้มีความรักใคร่สามัคคีปรองดอง ให้สิ่งดีๆ ยั่งยืนยาวนาน
๖. ธูปสีเหลือง ใช้บูชาเทพต่างๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนา และไม่ใช่ราหูแต่ใช้ในกรณี ขอพรให้มีความคิดสร้างสรรค์, ฉลาด, มีปัญญาเฉียบแหลม
๗. ธูปสีแดง ใช้งานในมงคลสมรสของชาวจีนเท่านั้น ไม่ใช้ในกรณีของงานอื่นๆ นอกจากเทพบางองค์ที่ชงกับสีแดงจริงๆ ก็สามารถเลือกใช้ได้ตามวาระ
๘. ธูปสีปกติ มักใช้ทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง และไม่จำกัดว่าไหว้อะไร
๓.โอกาสในการไหว้ (กาลเทศะ)
บางครั้งที่บ้านท่านอาจมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์จำนวนมากมายก่ายกอง กองรวมกันให้หิ้งพระ ซึ่งไม่ดีเลย ทั้งในแง่ของการรับและแผ่พลังจะมั่วกันไปหมด บางท่านแนะนำให้เลือกบางอย่างที่ชงกับเราจริงๆ แต่มันก็อดใจไม่ได้ที่จะบูชาอย่างอื่นด้วย หรือบางครั้งก็ได้รับมาจากญาติโยมมอบให้ไม่รับก็ไม่ได้ ทำอย่างไรดี? จึงจะบูชาได้เหมาะสมตามกาลเทศะ
๑. ประเภทที่ควรบูชาทุกวัน คือ พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ, พระธรรม พระสงฆ์ อันหมายรวมถึง พระอรหันต์องค์ต่างๆ เช่น หลวงปู่ทวด เป็นต้นให้ใช้ธูป สีธรรมดา หรือ สีทอง เพื่อเน้นว่าบูชาอย่างสูงสุด
๒. ประเภทที่มักบูชาทุกวัน คือ ศาลพระภูมิ, เจ้าที่, ดวงวิญญาณพ่อแม่ บรรพบุรุษ ที่มักมีศาลเล็กๆ ไว้ในบ้าน และชาวเชื้อสายจีนมักไหว้ทุกวัน ให้ใช้ธูป สีม่วง เพื่อดึงพลังอำนาจลึกลับมาช่วยในกิจการงานต่างๆ
๓. ประเภทบูชาเมื่อดวงกำลังขึ้น ใช้บูชาเทพเจ้าได้ทุกองค์ ตามต้องการเรื่องอะไร ให้เลือกเทพให้ถูกองค์ เช่น เทพที่เน้นค้าขายก็ขอเรื่องค้าขาย เทพที่เน้นสุขภาพก็ให้ขอเรื่องสุขภาพ ต้องขอเรื่องที่ถูกกับหน้าที่ของเทพองค์นั้นๆ
หากบูชาตรีมูรติ ให้บูชาองค์พระศิวะ หรือพระพรหมก็ได้ ให้หนุนสร้างสิ่งใหม่ๆเช่น เปิดกิจการใหม่, บริษัทใหม่, เริ่มงานใหม่ ฯลฯให้ใช้ธูปสีเขียวแสดงถึงความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง มีสุขภาพดี สดใส แรกแย้ม
๔. ประเภทบูชาเมื่อดวงดีอยู่แล้ว ให้บูชาเทพที่ช่วยปกปักษ์รักษาเช่น หากเป็นตรีมูรติ ให้บูชาพระวิษณุ เพื่อขอให้สิ่งดีงามที่มีอยู่แล้ว ยั่งยืนถาวรต่อไปมีความรักความอบอุ่น ในครอบครัว มีความสามัคคีปรองดอง ให้ยั่งยืนสืบนานให้ใช้ธูปสีชมพูแสดงถึงความรักความผูกพันสามัคคีปรองดองการปกปักษ์ร
ักษา
๕. ประเภทบูชาเมื่อดวงกำลังตก ให้บูชา "ราหู" เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขอให้ท่านลดหย่อนผ่อนโทษให้เรา ให้วิบากกรรมผ่านไปเร็วๆ และเบาบางลง บางท่านอาจบูชาราหูอยู่แล้ว หรือมีราหูไว้บูชา เช่น จตุคามรามเทพ ก็จัดเป็นราหู ให้ใช้ธูปสีดำ เท่านั้นจึงจะถูกหลักการบูชาราหูที่ถูกต้องจำง่ายๆ ดังนี้
๑. ไหว้ทุกวัน
-ไหว้บนฟ้า เช่น พระรัตนตรัย ใช้ธูปสีทอง
-ไหว้บนดิน เช่น ศาลพระภูมิ ใช้ธูปสีม่วง
๒. ไหว้ตามวาระดวง
- ดวงกำลังขึ้น ไหว้เทพที่หนุนกิจในเรื่องที่กำลังทำอยู่ ใช้ธูปสีเขียว
- ดวงดีอยู่แล้ว ไหว้เทพที่คุ้มครองในเรื่องที่กำลังทำอยู่ ใช้ธูปสีชมพู
- ดวงกำลังตก ไหว้เทพราหู หรือ จตุคาม-รามเทพ ก็ได้ ใช้ธูปสีดำ
๓. ไหว้ตามวาระโอกาสพิเศษ- งานแต่งงานชาวจีน ใช้ธูปสีแดง เท่านั้น
- ต้องการความฉลาดมีปัญญา ใช้ธูปสีเหลือง
การจุดธูปบูชา หรือขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือปฏิบัติกันมายาวนานนับพันๆ ปีแล้ว ลองดูสิว่าที่ผ่านๆ มา เราใช้ธูปสักการะกันถูกต้องตามจำนวนรึเปล่า
ธูป 1 ดอก ไหว้ศพ เจ้าที่ วิญญาณธรรมดา ที่ไม่ได้ขึ้นชั้นเทพ
ธูป 2 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่
ธูป 3 ดอก ใช้บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ธูป 5 ดอก ใช้บูชาพระรัตนตรัย บูชารัชกาลที่ 5 ธาตุทั้งห้า หรือทิศทั้งห้า พระภูมิ
ธูป 7 ดอก ไหว้พระพรหม บูชาพระอาทิตย์ ถือคติคุ้มครองทั้ง 7 วันในสัปดาห์
ธูป 8 ดอก บูชาเทพเจ้าของชาวฮินดู
ธูป 9 ดอก บูชาแก้ว 9 ประการ พระพุทธคุณทั้งเก้า และพระเทพารักษ์
ธูป 10 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่ตามความเชื่อของชาวจีนบางกลุ่ม
ธูป 12 ดอก บูชาเจ้าแม่กวนอิม บูชาพระคุณของแม่
ธูป 16 ดอก บูชาเทพชั้นครู หรือพิธีกลางแจ้งที่มีการอัญเชิญเทวดา ที่สำคัญหมายถึงสวรรค์ 16 ชั้น
ธูป 19 ดอก บูชาเทวดาทั้ง 10 ทิศ
ธูป 21 ดอก บูชาพระคุณของพ่อ
ธูป 32 ดอก ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง 4 ทิศ
ธูป 108 ดอก บูชาสิ่งสูงสุดทั่วทั้งโลกทุกชั้นฟ้า
พึงระลึกไว้เสมอว่า การกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ เพื่อขอพรก็จะไม่เป็นผลอะไร หากคุณเองยังไม่ได้พยายามอย่างที่สุดและหาทุกหนทาง เพื่อขะช่วยเหลือตนเอง
ที่มา...http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=1366
การใช้ธูปจำนวนต่างๆ กันนั้น แตกต่างตามความเชื่อและประเพณีแนวคิดต่างๆ อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมไทย เป็นวัฒธรรมผสม ดังนั้นจึงต้องเข้าใจแก่นสาร และเปลือกนอก อันเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม
แนวคิดที่หนึ่ง "ธูป หนึ่ง ดอก แทนหนึ่งสิ่ง"เช่น หากไหว้สามดอก ก็แทน พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ เป็นต้น
แนวคิดที่สอง "จำนวนธูป ตามกำลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์"เช่น ทางโหราศาสตร์ อาจจะใช้ ธูป ๘ ดอก เป็นกำลังของราหู เมื่อไหว้ราหู หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในข่ายของราหู เช่น จตุคาม รามเทพ ก็ใช้ธูป ๘ ดอก จึงนับว่าถูกต้องตามหลักกำลังของโหราศาสตร์
แนวคิดที่สาม "จำนวนธูป ตามประเภทสิ่งศักดิ์สิทธิ์"เช่น คนตายไหว้เพียงหนึ่งดอก (แทนคนๆ นั้น) แต่หากเป็นพระมหากษัตริย์ที่จากโลกไปแล้ว จะใช้ธูป ๗ ดอก ด้วยถือเคล็ดว่า พระมหากษัตริย์จะใช้เลข ๗ เท่านั้น เช่น ฉัตรก็ใช้ ๗ ชั้น เป็นต้น นอกจากนี้ ทางพราหมณ์ อาจกำหนดให้จำนวนธูปในการไหว้เทพแต่ละองค์แตกต่างกัน ซึ่งก็ควรไหว้ตามนั้นให้ถูกจารีตประเพณี
ทั้งนี้ สามารถผสมผสานเลือกใช้แนวคิดทั้งสามในการเลือกจำนวนธูปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่ถือว่าผิด เพราะถือหลักอะไรก็ได้ เป็นประเพณีเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องแก่นสารธรรม ที่จะมาบอกว่าถูกหรือผิดประการใด
2. สีของธูป
ปกติเรามักเห็นธูปมีสีเดียวตามที่ขายอยู่ทั่วไป แต่หากถือเคล็ดตามโหราศาสตร์แล้วละก็ การใช้สีเดียวกันกับทุกอย่างเป็นสิ่งไม่ดี เช่น การบูชาราหู ทุกอย่างควรเป็นสีดำเท่านั้น หรือการไปงานมงคลสมรสของชาวจีน ทุกอย่างควรเป็นสีแดง ดังนั้นธูปก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้ เพื่อให้ถูกต้องตามจารีตประเพณี ต้องทำความเข้าใจว่า
ควรเลือกสีธูปให้เหมาะกับกิจการต่างๆ ดังนี้
๑. ธูปสีทอง ใช้บูชาสิ่งสูงสุด คือ พระรัตนตรัย, พระอรหันต์, พระพุทธเจ้าการไหว้ด้วยธูปสีทองนี้ ใช้ไหว้ได้ทุกวันยิ่งดี เพราะทำให้จิตใจบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
๒. ธูปสีม่วง ใช้บูชาดวงวิญญาณลึกลับที่คุ้มครองเรา เช่น เจ้าที่, พระภูมิการไหว้ด้วยธูปสีม่วงนี้ เพื่อขออำนาจสิ่งลี้ลับที่อยู่ใกล้ชิดเรามากกว่าพระพุทธซึ่งเข้านิพพานแล้ว ให้ท่านมาสะสมบุญบารมีโดยช่วยเหลือเราในกิจงานต่างๆ
๓. ธูปสีดำ ใช้บูชาเฉพาะราหูเท่านั้น หรือในงานศพ ก็นับว่าใช้ได้ หรือเทพบางองค์ที่นับว่าชงเข้ากับสีดำ การไหว้ด้วยธูปดำนี้ ใช้กรณีดวงตก มีคราวเคราะห์ ก็ให้บูชาราหูเพื่อลดหย่อนผ่อนโทษ
๔. ธูปสีเขียว ใช้บูชาเทพต่างๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนา และไม่ใช่ราหูแต่ใช้ในกรณี ขอพรให้มีความเจริญรุ่งเรืองงอกงาม หรือสุขภาพดี
๕. ธูปสีชมพู ใช้บูชาเทพต่างๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนา และไม่ใช่ราหูแต่ใช้ในกรณี ขอพรให้มีความรักใคร่สามัคคีปรองดอง ให้สิ่งดีๆ ยั่งยืนยาวนาน
๖. ธูปสีเหลือง ใช้บูชาเทพต่างๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนา และไม่ใช่ราหูแต่ใช้ในกรณี ขอพรให้มีความคิดสร้างสรรค์, ฉลาด, มีปัญญาเฉียบแหลม
๗. ธูปสีแดง ใช้งานในมงคลสมรสของชาวจีนเท่านั้น ไม่ใช้ในกรณีของงานอื่นๆ นอกจากเทพบางองค์ที่ชงกับสีแดงจริงๆ ก็สามารถเลือกใช้ได้ตามวาระ
๘. ธูปสีปกติ มักใช้ทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง และไม่จำกัดว่าไหว้อะไร
๓.โอกาสในการไหว้ (กาลเทศะ)
บางครั้งที่บ้านท่านอาจมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์จำนวนมากมายก่ายกอง กองรวมกันให้หิ้งพระ ซึ่งไม่ดีเลย ทั้งในแง่ของการรับและแผ่พลังจะมั่วกันไปหมด บางท่านแนะนำให้เลือกบางอย่างที่ชงกับเราจริงๆ แต่มันก็อดใจไม่ได้ที่จะบูชาอย่างอื่นด้วย หรือบางครั้งก็ได้รับมาจากญาติโยมมอบให้ไม่รับก็ไม่ได้ ทำอย่างไรดี? จึงจะบูชาได้เหมาะสมตามกาลเทศะ
๑. ประเภทที่ควรบูชาทุกวัน คือ พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ, พระธรรม พระสงฆ์ อันหมายรวมถึง พระอรหันต์องค์ต่างๆ เช่น หลวงปู่ทวด เป็นต้นให้ใช้ธูป สีธรรมดา หรือ สีทอง เพื่อเน้นว่าบูชาอย่างสูงสุด
๒. ประเภทที่มักบูชาทุกวัน คือ ศาลพระภูมิ, เจ้าที่, ดวงวิญญาณพ่อแม่ บรรพบุรุษ ที่มักมีศาลเล็กๆ ไว้ในบ้าน และชาวเชื้อสายจีนมักไหว้ทุกวัน ให้ใช้ธูป สีม่วง เพื่อดึงพลังอำนาจลึกลับมาช่วยในกิจการงานต่างๆ
๓. ประเภทบูชาเมื่อดวงกำลังขึ้น ใช้บูชาเทพเจ้าได้ทุกองค์ ตามต้องการเรื่องอะไร ให้เลือกเทพให้ถูกองค์ เช่น เทพที่เน้นค้าขายก็ขอเรื่องค้าขาย เทพที่เน้นสุขภาพก็ให้ขอเรื่องสุขภาพ ต้องขอเรื่องที่ถูกกับหน้าที่ของเทพองค์นั้นๆ
หากบูชาตรีมูรติ ให้บูชาองค์พระศิวะ หรือพระพรหมก็ได้ ให้หนุนสร้างสิ่งใหม่ๆเช่น เปิดกิจการใหม่, บริษัทใหม่, เริ่มงานใหม่ ฯลฯให้ใช้ธูปสีเขียวแสดงถึงความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง มีสุขภาพดี สดใส แรกแย้ม
๔. ประเภทบูชาเมื่อดวงดีอยู่แล้ว ให้บูชาเทพที่ช่วยปกปักษ์รักษาเช่น หากเป็นตรีมูรติ ให้บูชาพระวิษณุ เพื่อขอให้สิ่งดีงามที่มีอยู่แล้ว ยั่งยืนถาวรต่อไปมีความรักความอบอุ่น ในครอบครัว มีความสามัคคีปรองดอง ให้ยั่งยืนสืบนานให้ใช้ธูปสีชมพูแสดงถึงความรักความผูกพันสามัคคีปรองดองการปกปักษ์ร
ักษา
๕. ประเภทบูชาเมื่อดวงกำลังตก ให้บูชา "ราหู" เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขอให้ท่านลดหย่อนผ่อนโทษให้เรา ให้วิบากกรรมผ่านไปเร็วๆ และเบาบางลง บางท่านอาจบูชาราหูอยู่แล้ว หรือมีราหูไว้บูชา เช่น จตุคามรามเทพ ก็จัดเป็นราหู ให้ใช้ธูปสีดำ เท่านั้นจึงจะถูกหลักการบูชาราหูที่ถูกต้องจำง่ายๆ ดังนี้
๑. ไหว้ทุกวัน
-ไหว้บนฟ้า เช่น พระรัตนตรัย ใช้ธูปสีทอง
-ไหว้บนดิน เช่น ศาลพระภูมิ ใช้ธูปสีม่วง
๒. ไหว้ตามวาระดวง
- ดวงกำลังขึ้น ไหว้เทพที่หนุนกิจในเรื่องที่กำลังทำอยู่ ใช้ธูปสีเขียว
- ดวงดีอยู่แล้ว ไหว้เทพที่คุ้มครองในเรื่องที่กำลังทำอยู่ ใช้ธูปสีชมพู
- ดวงกำลังตก ไหว้เทพราหู หรือ จตุคาม-รามเทพ ก็ได้ ใช้ธูปสีดำ
๓. ไหว้ตามวาระโอกาสพิเศษ- งานแต่งงานชาวจีน ใช้ธูปสีแดง เท่านั้น
- ต้องการความฉลาดมีปัญญา ใช้ธูปสีเหลือง
การจุดธูปบูชา หรือขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือปฏิบัติกันมายาวนานนับพันๆ ปีแล้ว ลองดูสิว่าที่ผ่านๆ มา เราใช้ธูปสักการะกันถูกต้องตามจำนวนรึเปล่า
ธูป 1 ดอก ไหว้ศพ เจ้าที่ วิญญาณธรรมดา ที่ไม่ได้ขึ้นชั้นเทพ
ธูป 2 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่
ธูป 3 ดอก ใช้บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ธูป 5 ดอก ใช้บูชาพระรัตนตรัย บูชารัชกาลที่ 5 ธาตุทั้งห้า หรือทิศทั้งห้า พระภูมิ
ธูป 7 ดอก ไหว้พระพรหม บูชาพระอาทิตย์ ถือคติคุ้มครองทั้ง 7 วันในสัปดาห์
ธูป 8 ดอก บูชาเทพเจ้าของชาวฮินดู
ธูป 9 ดอก บูชาแก้ว 9 ประการ พระพุทธคุณทั้งเก้า และพระเทพารักษ์
ธูป 10 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่ตามความเชื่อของชาวจีนบางกลุ่ม
ธูป 12 ดอก บูชาเจ้าแม่กวนอิม บูชาพระคุณของแม่
ธูป 16 ดอก บูชาเทพชั้นครู หรือพิธีกลางแจ้งที่มีการอัญเชิญเทวดา ที่สำคัญหมายถึงสวรรค์ 16 ชั้น
ธูป 19 ดอก บูชาเทวดาทั้ง 10 ทิศ
ธูป 21 ดอก บูชาพระคุณของพ่อ
ธูป 32 ดอก ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง 4 ทิศ
ธูป 108 ดอก บูชาสิ่งสูงสุดทั่วทั้งโลกทุกชั้นฟ้า
พึงระลึกไว้เสมอว่า การกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ เพื่อขอพรก็จะไม่เป็นผลอะไร หากคุณเองยังไม่ได้พยายามอย่างที่สุดและหาทุกหนทาง เพื่อขะช่วยเหลือตนเอง
ที่มา...http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=1366
วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเป็นครูเราทั้งสิ้น
คนที่ทำให้เราโกรธเขาก็คือครูเรา
คนที่ทำให้เรารักเขาก็คือครูเรา
คนที่ทำให้เราไม่พอใจเขาก็คือครูเรา
คนที่ทำให้เราเกลียดเขาก็คือครูเรา
ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือสิ่งของ
ล้วนเป็นครูของเราทั้งสิ้น
แม้กระทั่งซากศพของสัตว์ที่อยู่กลางถนน
หรือแม้แต่ก้อนหินเพียงก้อนเดียว
ให้เราเคารพสิ่งเหล่านี้ เพราะสิ่งเหล่านี้คือครูของเรา
ดังนั้นถ้าใครเจอสิ่งเหล่านี้นั้น
ก็ดีใจได้เลยว่า ครูยังไม่ทิ้งเรา
และถ้าเราไม่เจอสิ่งเหล่านี้อีกต่อไปแล้ว
นั่นคือคนที่ทำให้เราเกลียด แต่เราไม่มีความเกลียด
ทำให้โกรธเราก็ไม่โกรธ
เราก็ดีใจได้แล้วว่า ครูเขาไว้วางใจเราแล้ว
เราได้วางใจของเราเอง จากการยึดมั่นถือมั่น
ยึดในร่างกายเราและบุคคลอื่น ยึดจากสรรพวัตถุต่างๆแล้ว
นั่นคือเราไม่ได้ยึดกับสิ่งใดอีกต่อไป
คนที่ทำให้เรารักเขาก็คือครูเรา
คนที่ทำให้เราไม่พอใจเขาก็คือครูเรา
คนที่ทำให้เราเกลียดเขาก็คือครูเรา
ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือสิ่งของ
ล้วนเป็นครูของเราทั้งสิ้น
แม้กระทั่งซากศพของสัตว์ที่อยู่กลางถนน
หรือแม้แต่ก้อนหินเพียงก้อนเดียว
ให้เราเคารพสิ่งเหล่านี้ เพราะสิ่งเหล่านี้คือครูของเรา
ดังนั้นถ้าใครเจอสิ่งเหล่านี้นั้น
ก็ดีใจได้เลยว่า ครูยังไม่ทิ้งเรา
และถ้าเราไม่เจอสิ่งเหล่านี้อีกต่อไปแล้ว
นั่นคือคนที่ทำให้เราเกลียด แต่เราไม่มีความเกลียด
ทำให้โกรธเราก็ไม่โกรธ
เราก็ดีใจได้แล้วว่า ครูเขาไว้วางใจเราแล้ว
เราได้วางใจของเราเอง จากการยึดมั่นถือมั่น
ยึดในร่างกายเราและบุคคลอื่น ยึดจากสรรพวัตถุต่างๆแล้ว
นั่นคือเราไม่ได้ยึดกับสิ่งใดอีกต่อไป
มรรค ๘ ตัวรู้ และสารพัดเรื่องที่โยงเข้าเป็นเรื่องเดียวกันได้ ด้วยจิตแบบนี้
ปัญหาเกี่ยวกับศัพท์บัญญัติและความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในเชิงปฏิบัตินั้น
มองจากตัวเอง ผมคิดว่าสืบเนื่องจากความสามารถตั้งจิตให้เหมาะกับงานวิปัสสนา
กล่าวคือถ้ายังทำจิตให้เป็นสมาธิในแบบที่ประกอบพร้อมด้วยสติและอุเบกขาไม่ได้
เรื่องวิปัสสนาอันเป็นของจริง ก็ดูจะห่างตัว เป็นเรื่องยาก น่าท้อแท้
เท่าที่มีโอกาสนั่งสังเกตใครต่อใครทำสมาธิให้ดู
แม้บางคนเคยนั่งนานๆจนจิตรวม จิตสว่าง
เกิดปรากฏการณ์ทางจิตมาแล้วมากมาย
ก็มักเห็นเป็นการรวมแบบเคลิ้ม
อันนี้ดูได้จากตอนที่ลืมตาขึ้นมา จะรู้สึกว่าอัตตาเติบพอง
จิตมีกำลังเข้มแข็ง ไม่ปรากฏลักษณะของสติที่เป็นกลางๆ
ไม่ปรากฏความนิ่มนวลของจิตที่อ่อนควร อ่อนน้อมพอจะเห็นตนเป็นธรรมชนิดหนึ่ง
สมัยแรกๆที่เริ่มหัดนั่งสมาธิ
ผมพบว่าแค่ให้จิตเลิกฟุ้ง เลิกหม่น เลิกอยาก ก็ยุ่งยากเต็มที
ประกอบกับสุขภาพร่างกายผมไม่ค่อยเอื้ออำนวย
จึงไม่ใช่คนนั่งสมาธิทนเท่าไหร่ นานๆถึงจะตกภวังค์แล้วตื่นวูบขึ้นมาสว่างเสียที
ยิ่งเป็นเรื่อง 'เข้าถึง' ยาก เมื่อจิตเกิดอาการโฟกัสลมหายใจ
แล้วจะประคองไว้
ผมมักเกิดความตื่นเต้น และอยากหาทางอธิบายเป็นคำพูด
เพื่อว่าตัวเองจะได้โน้ตไว้เป็นขั้นๆ ว่าต้องทำอย่างไรจึงเข้าถึงภาวะโฟกัสได้ทุกวัน
แต่แค่จะให้อธิบายภาวะจิตที่เปลี่ยนไปก็ลำบากแล้ว
ผมพบความจริงว่าถ้าไม่ศึกษาที่โบราณจารย์ท่านบัญญัติศัพท์ไว้บ้าง
หรือขยายความไว้บ้าง เราก็จะขาดไอเดียในการพูดถึงภาวะสมาธิให้เป็นภาษา
และนั่นหมายความว่าเป็นการยาก ที่จะสื่อสารกับคนอื่น
ให้แนวทางกับคนอื่น (หรือกระทั่งกับตนเองเพื่อใช้เป็นมาตรวัดประเมิน)
เมื่อเร็วๆนี้พี่สันตินันท์เอ่ยถึงโกสลสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔
นั่นคือที่พระพุทธองค์ตรัสถึงพระอรหันต์
ว่ามีอาการพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรมอย่างไร
ผมเจอคีย์เวิร์ดหนึ่งที่รู้สึกว่าเมื่อมาประยุกต์ใช้อธิบายสมาธิได้ดี
(แต่ก็คงไม่เป็นที่เข้าใจอยู่ดีสำหรับคนเพิ่งเริ่มต้น)
นั่นคือพระอรหันต์ท่านพิจารณากายในกาย
(เช่นลมหายใจ หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดทั่วสรรพางค์)
มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น จิตมีอารมณ์เดียว
พรากจากกาย...
แล้วย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พรากจากเวทนาแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
พรากจากจิตแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอก
ผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมแล้ว
คำว่า พรากจาก นั้น
ตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากต้องมีการ แยกกัน ของคู่ธรรม
พระป่าท่านอาจเรียกการแยกกันระหว่างตัวรู้กับสิ่งถูกรู้
แต่ถ้าพิถีพิถันระวังรักษาศัพท์บัญญัติไว้เพื่อเห็นแก่อนุชน
ก็อาจเรียกว่าเป็นการใช้สติแยกแยะได้ออก ว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เรา สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน
นับแต่กาย เวทนา จิต และธรรม
ผมเห็นว่าคีย์เวิร์ดคือ "พรากจาก" นั้น
สามารถนำมาอธิบายองค์ของสมาธิต่างๆได้อย่างดี
ก่อนอื่นต้องให้รู้จักกับองค์ของสมาธิว่ามีอยู่ 5 ข้อ ได้แก่
1) วิตก แปลว่าตรึก ถ้าพูดให้ง่ายคือ อาการนึกถึงอารมณ์ เช่นนึกถึงลมหายใจเข้าออก
2) วิจาร แปลว่าตรอง คำนี้แหละที่เป็นปัญหา เดี๋ยวจะกล่าวถึงอย่างละเอียดในภายหลัง
3) ปีติ แปลว่าอิ่มใจ ยินดี โดยนัยของสัมมาสมาธิต้องออกรสปรีดาปราโมทย์
4) สุข แปลว่าสบาย เย็นใจ เป็นองค์ที่กำกับให้สามารถประเมินได้ว่าปีติที่เกิดขึ้นนั้นถูกต้อง
เพราะมีอยู่ ที่เกิดปีติประเภทตัวจะลอย หัวโตขึ้นเรื่อยๆเหมือนลูกโป่ง
อย่างนั้นไม่ใช่ปีติในสัมมาสมาธิ ถ้าเป็นปีติในสัมมาสมาธิต้องให้ผลเป็นความสุขตัวนี้
5) เอกัคคตา แปลว่าเป็นหนึ่ง อันนี้โดยอาการของจิตจะรวมดวงหนักแน่น
แม้ในสภาพรู้ของตนเองก็เห็นเป็นดวงเด่นเต็มรอบจริงๆ
ที่เรียกจิตว่าดวงนั้น
ปรากฏเป็นดวงจริงก็คราวถึงเอกัคคตาในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนี่เอง
พูดขยายความมากๆก็ไม่มีประโยชน์ เพราะจิตที่ยังไม่เคยถึงฐาน
ก็จะเข้าใจว่าลักษณะจิตมีเพียงความตั้งมั่นสบายๆ รู้ชัดคมกริบ
จะนึกไม่ถึงเลยว่าจิตปฏิรูปเป็นได้อีกสภาวะหนึ่งที่เหนือชั้นกว่าสติสามัญ
มากล่าวถึงองค์ที่สองคือวิจาร (ไม่มี ณ.เณรการันต์นะครับ)
โดยว่ากันเฉพาะวิจารอันเป็นองค์สมาธิ
นักปฏิบัติหลายท่านพยายามอธิบายให้ฟังง่าย
เช่นเป็นอาการที่จิตเข้าแนบคลุกเคล้าเป็นอันเดียวกับอารมณ์
อาการที่จิตประคองอารมร์ไว้อย่างต่อเนื่องไม่หลุด ฯลฯ
ซึ่งล้วนแล้วแต่ถูกต้อง และไม่เป็นที่สงสัยแก่ผู้เข้าถึง
อย่างไรก็ตาม เมื่อจะอธิบายต่อว่าเพราะเหตุใดขณิกสมาธิจึงใช้ในงานวิปัสสนาได้
อันนี้จะเริ่มคลุมเครือ และเป็นชนวนให้หลายคนตีความไปว่าสติธรรมดาๆ
ก็จัดเป็นขณิกสมาธิ เพราะถือว่าเพ่งอยู่กับอารมณ์เฉพาะหน้าแล้ว ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว
อยู่กับปัจจุบันอารมณ์แล้ว
ความจริงถ้าเข้าใจองค์คือ วิจาร อย่างถ่องแท้
เส้นแบ่งเรื่องศัพท์บัญญัติและข้อถกเถียงเกี่ยวกับการสร้างสรรค์องค์มรรคให้ครบ 8
จะมลายลงทันที
เพราะแท้ที่จริงแล้ว การได้องค์คือวิจารนั้น
ก็คือได้สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยอุเบกขาและสติบริบูรณ์พร้อมงานวิปัสสนา
เนื่องจากอาการรู้ของจิต หรือกล่าวให้ง่ายที่สุดคือจิตนั้น
พรากจากความคิดมาจับกับลมหายใจ หรืออารมณ์สมาธิอย่างแนบแน่นเป็นหนึ่ง
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าความคิดจะหยุดชะงักขาดสายลง
ไม่ได้หมายความว่าสุขทุกข์จะหายหนไป
ไม่ได้หมายความว่าความปรากฏแห่งกายจะถูกรู้ไม่ได้
ทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ เพียงแต่จิตถูกปรับให้อยู่ในอีกภาวะ
มีศูนย์กลาง หรือพื้นยืนมั่นคง พอจะมองแยกได้ออก
ว่าภาวะกาย ภาวะเวทนา ภาวะจิต และสภาวธรรมนั้น เป็นต่างหากจากผู้รู้ ผู้เป็นนามธรรมดูอยู่
อาการของจิตเป็นเช่นนั้นจริงๆ
จากที่คลุกอยู่กับความคิดในหัว ก็เหมือนหล่นปับไปจับอารมณ์สมาธิได้ดังใจนึก
เหมือนลงไปยืนอยู่คนละระนาบกับเปลือกหยาบคือความรู้สึกนึกคิด
เมื่อมองมรรค 8 โดยไล่จากต้นขึ้นมาหาปลาย
เราจะได้คำตอบที่เหมาะแก่การทำความเข้าใจเส้นทางปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น
แต่เมื่อมองมรรค 8 โดยไล่จากปลายลงไปหาต้น
เอาจากภาวะสมาธิจิตที่พร้อม ที่อ่อนควรแก่งานวิปัสสนา
องค์มรรคต่างๆที่เป็นของจริงจะปรากฏชัดกับตนเอง
กล่าวคือสำรวจรู้ได้ ว่าบัดนี้เรามีสมาธิพอที่จะตั้งเป็นสัมมาสติ
พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม อันเป็นปัจจุบัน เพื่อความแหนงหน่าย คลายกำหนัด
เพื่อความปล่อยวางลงจากพฤติภายในของจิตหรือไม่
ถ้าไม่พร้อม ก็สืบลงไปดูว่ามีความเพียรมาเพียงพอหรือยัง
หากยัง ก็รู้ว่าองค์คือสัมมาวายามะยังไม่บริบูรณ์ในตน
อาจจะยังขี้เกียจ อาจจะไม่มีแรงจูงใจ หรืออาจจะอยู่ในสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย
เช่นเหนื่อยเกินไป เพลียจนขยับไม่ได้จากการโหมงานประจำ ฯลฯ
โดยมากความเหนื่อยล้าและความขี้เกียจจะเป็นเหตุหลักที่ทำให้สัมมาวายามะพร่อง
หากพบในจิตอันเป็นสมาธิ ว่ามีความไม่ผ่องใส
ก็ไล่สำรวจไปในพฤติกรรม สืบหาข้อบกพร่องที่ยังให้จิตหม่น นับแต่
สัมมาสังกัปปะ (ยังคิดเล็กคิดน้อย คิดใหญ่คิดมากในเรื่องโลกๆ เรื่องกูๆ เรียกว่าคิดไม่ดีก็จิตตกได้)
สัมมาวาจา (ยังเพ้อเจ้อ โกหกเก่งเป็นไฟ ใส่ไคล้คนอื่นเป็นอาจิณหรือเปล่า เรียกว่าพูดไม่ดีก็จิตตกได้)
สัมมากัมมันตะ (ทำการไม่ชอบด้วยประการต่างๆ นับแต่ตีรันฟันแทงลง เรียกว่าทำไม่ดีก็จิตตกได้)
หากพบว่าทุกอย่างพร้อมเพรียงหมด จิตเป็นสมาธิผ่องใส
มีสติตั้งมั่นบริบูรณ์ แต่ไม่มีความก้าวหน้าในทางธรรมตามพระพุทธองค์เสียที
อัตตาไม่บางลง คิดหมกมุ่นไปทางแสวงหาเพิ่มมากกว่าลดละปล่อยวาง
อย่างนี้ก็ต้องเร่งสำรวจลงมาในสมาธิจิตนั้นเอง
ว่าน้อมไปพิจารณาธรรมโดยชอบหรือยัง
บางคนอวดดี บอกว่าตนมีความเห็นชอบมาหลายปีแล้ว
ไม่ต้องไปสำรวจแล้ว ก็จะได้ถึงเวลาดูจากจิตอันเป็นกลาง
ไม่เข้าใครออกใครแม้แต่ตัวเองนั้น ว่าเห็นชอบจริงหรือไม่
เห็นชอบอย่างไร ในหลักการหรือหลักกู
ถึงตรงนี้อยากกล่าวว่า
ขณิกสมาธิอันมีองค์คือวิตกและวิจารนั้น
เป็นศักยภาพเพียงพอจะไล่องค์มรรคจากปลายลงมาหาต้น
เพื่อสำรวจว่าตนเองมีจิตเป็นมรรคหรือไม่
กับทั้งอยากแสดงให้เห็นว่าถ้าเข้าใจเรื่ององค์มรรคจริงๆ
เราจะพูดจากจุดไหน เพื่อสืบสาวไปหาตรงไหนก็ได้ทั้งนั้น
ไม่จำเป็นต้องสาวทีละลำดับให้ต่อเนื่องจากต้นไปหาเสมอปลาย
เหมือนอย่างที่ใช้ความคิดความเข้าใจในเบื้องต้นเสมอไป
อีกจุดหนึ่ง เพื่อทำวิจารให้เกิด
ตรงนี้ไปเจอพระสูตรหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งได้
และนำมาอ้างเพื่อให้ทุกคนสนิทใจ ว่านี่เป็นสิ่งที่โบราณจารย์ท่านสอนไว้
ไม่ใช่ว่าผมสร้างสรรค์ขึ้นใหม่
นั่นคือแทนที่เราจะนึกถึงเทคนิคลัดสั้นเพื่อทำอานาปานสติให้ได้ผล
เรามาดูว่ามีกิเลสชนิดใดขัดขวางไม่ให้ทำอานาปานสติได้ผลเสียบ้าง
พิจารณาเข้าไปในขณะจิตหนึ่งๆเดี๋ยวนั้น
มีสติรู้ทันแล้วพรากกิเลสนั้นออกจากจิตเสีย
ถ้าอ่านข้างล่างนี้แล้วได้ข้อสรุปในการปฏิบัติ
คือสักแต่ รู้ ความเป็นปัจจุบันของสายลมหายใจอย่างเป็นกลาง
ว่าเข้าอยู่ หรือออกอยู่ หรือหยุดอยู่ ไม่หลงไปเป็นอาการอื่น
ก็ขอให้เชื่อเถิดว่าจะเข้าถึงจิตที่มีองค์สมาธิคือ "วิจาร" ได้อย่างรวดเร็ว
[๓๖๖] อุปกิเลส ๑๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้น ฯ
เมื่อบุคคลใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก
จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อบุคคลใช้สติ
ไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า จิตถึงความฟุ้งซ่านใน
ภายนอก ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปรารถนา ความพอใจลมหายใจ
ออก การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปรารถนา ความ
พอใจลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความหลง
ในการได้ลมหายใจเข้า แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจออกเข้าครอบงำ ย่อมเป็น
อันตรายแก่สมาธิ ความหลงในการได้ลมหายใจออก แห่งบุคคลผู้ถูกลมหาย
ใจเข้าครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
สติที่ไปตามลมหายใจออก ที่ไปตามลมหายใจเข้า ที่ฟุ้งซ่าน
ในภายใน ที่ฟุ้งซ่านในภายนอก ความปรารถนาลมหายใจออก
และความปรารถนาลมหายใจเข้า อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็น
อันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุปกิเลส
เหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้
หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความ
เชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ
[๓๖๗] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจ
ออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิต
กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต
จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึง
ถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระ
โยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตราย
แก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อ
คำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึง
ถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลม
หายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ
ออก ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ
เข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก อุปกิเลส ๖ ประการ
นี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุป-
กิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็น
เครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์
ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตราย
แก่สมาธิ จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่
สมาธิ จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่
ถือจัด ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่รู้เกินไป ตก
ไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่ไม่รู้ ตกไปข้างฝ่าย
พยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
[๓๖๘] จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ จิตที่
หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้ ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส
๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา-
ปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้นย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความ
ดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล ฯ
[๓๖๙] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
แห่งลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
จิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่าม
กลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและ
ดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก กายและจิตย่อมมีความปรารภ
หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจออก
เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน
เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจเข้า เพราะความเที่ยวไปด้วย
ตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารถนา หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่
พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจร
ผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจออก กายและจิต
ย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำ
นึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ
หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออก
กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
ความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กาย
และจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระ-
โยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมมีความ
ปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจ
ออก กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหว
และดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่ง
อยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายความฟุ้งซ่าน กายและจิตย่อมมีความ
ปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหวังถึงอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง
กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ ตกไป
ข้างฝ่ายเกียจคร้าน กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
จิตถือตัว ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและ
ดิ้นรน เพราะจิตรู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด กายและจิตย่อมมีความปรารภ
หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ฯ
ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปาณสติ กายและจิตของผู้นั้น
ย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปาณสติดี
กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล ฯ
ก็และเมื่อพระโยคาวจร ผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญ
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ
ย่อมมีได้ อุปกิเลส ๑๘ เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น ฯ
จากคุณ : ดังตฤณ
มองจากตัวเอง ผมคิดว่าสืบเนื่องจากความสามารถตั้งจิตให้เหมาะกับงานวิปัสสนา
กล่าวคือถ้ายังทำจิตให้เป็นสมาธิในแบบที่ประกอบพร้อมด้วยสติและอุเบกขาไม่ได้
เรื่องวิปัสสนาอันเป็นของจริง ก็ดูจะห่างตัว เป็นเรื่องยาก น่าท้อแท้
เท่าที่มีโอกาสนั่งสังเกตใครต่อใครทำสมาธิให้ดู
แม้บางคนเคยนั่งนานๆจนจิตรวม จิตสว่าง
เกิดปรากฏการณ์ทางจิตมาแล้วมากมาย
ก็มักเห็นเป็นการรวมแบบเคลิ้ม
อันนี้ดูได้จากตอนที่ลืมตาขึ้นมา จะรู้สึกว่าอัตตาเติบพอง
จิตมีกำลังเข้มแข็ง ไม่ปรากฏลักษณะของสติที่เป็นกลางๆ
ไม่ปรากฏความนิ่มนวลของจิตที่อ่อนควร อ่อนน้อมพอจะเห็นตนเป็นธรรมชนิดหนึ่ง
สมัยแรกๆที่เริ่มหัดนั่งสมาธิ
ผมพบว่าแค่ให้จิตเลิกฟุ้ง เลิกหม่น เลิกอยาก ก็ยุ่งยากเต็มที
ประกอบกับสุขภาพร่างกายผมไม่ค่อยเอื้ออำนวย
จึงไม่ใช่คนนั่งสมาธิทนเท่าไหร่ นานๆถึงจะตกภวังค์แล้วตื่นวูบขึ้นมาสว่างเสียที
ยิ่งเป็นเรื่อง 'เข้าถึง' ยาก เมื่อจิตเกิดอาการโฟกัสลมหายใจ
แล้วจะประคองไว้
ผมมักเกิดความตื่นเต้น และอยากหาทางอธิบายเป็นคำพูด
เพื่อว่าตัวเองจะได้โน้ตไว้เป็นขั้นๆ ว่าต้องทำอย่างไรจึงเข้าถึงภาวะโฟกัสได้ทุกวัน
แต่แค่จะให้อธิบายภาวะจิตที่เปลี่ยนไปก็ลำบากแล้ว
ผมพบความจริงว่าถ้าไม่ศึกษาที่โบราณจารย์ท่านบัญญัติศัพท์ไว้บ้าง
หรือขยายความไว้บ้าง เราก็จะขาดไอเดียในการพูดถึงภาวะสมาธิให้เป็นภาษา
และนั่นหมายความว่าเป็นการยาก ที่จะสื่อสารกับคนอื่น
ให้แนวทางกับคนอื่น (หรือกระทั่งกับตนเองเพื่อใช้เป็นมาตรวัดประเมิน)
เมื่อเร็วๆนี้พี่สันตินันท์เอ่ยถึงโกสลสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔
นั่นคือที่พระพุทธองค์ตรัสถึงพระอรหันต์
ว่ามีอาการพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรมอย่างไร
ผมเจอคีย์เวิร์ดหนึ่งที่รู้สึกว่าเมื่อมาประยุกต์ใช้อธิบายสมาธิได้ดี
(แต่ก็คงไม่เป็นที่เข้าใจอยู่ดีสำหรับคนเพิ่งเริ่มต้น)
นั่นคือพระอรหันต์ท่านพิจารณากายในกาย
(เช่นลมหายใจ หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดทั่วสรรพางค์)
มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น จิตมีอารมณ์เดียว
พรากจากกาย...
แล้วย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พรากจากเวทนาแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
พรากจากจิตแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอก
ผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมแล้ว
คำว่า พรากจาก นั้น
ตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากต้องมีการ แยกกัน ของคู่ธรรม
พระป่าท่านอาจเรียกการแยกกันระหว่างตัวรู้กับสิ่งถูกรู้
แต่ถ้าพิถีพิถันระวังรักษาศัพท์บัญญัติไว้เพื่อเห็นแก่อนุชน
ก็อาจเรียกว่าเป็นการใช้สติแยกแยะได้ออก ว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เรา สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน
นับแต่กาย เวทนา จิต และธรรม
ผมเห็นว่าคีย์เวิร์ดคือ "พรากจาก" นั้น
สามารถนำมาอธิบายองค์ของสมาธิต่างๆได้อย่างดี
ก่อนอื่นต้องให้รู้จักกับองค์ของสมาธิว่ามีอยู่ 5 ข้อ ได้แก่
1) วิตก แปลว่าตรึก ถ้าพูดให้ง่ายคือ อาการนึกถึงอารมณ์ เช่นนึกถึงลมหายใจเข้าออก
2) วิจาร แปลว่าตรอง คำนี้แหละที่เป็นปัญหา เดี๋ยวจะกล่าวถึงอย่างละเอียดในภายหลัง
3) ปีติ แปลว่าอิ่มใจ ยินดี โดยนัยของสัมมาสมาธิต้องออกรสปรีดาปราโมทย์
4) สุข แปลว่าสบาย เย็นใจ เป็นองค์ที่กำกับให้สามารถประเมินได้ว่าปีติที่เกิดขึ้นนั้นถูกต้อง
เพราะมีอยู่ ที่เกิดปีติประเภทตัวจะลอย หัวโตขึ้นเรื่อยๆเหมือนลูกโป่ง
อย่างนั้นไม่ใช่ปีติในสัมมาสมาธิ ถ้าเป็นปีติในสัมมาสมาธิต้องให้ผลเป็นความสุขตัวนี้
5) เอกัคคตา แปลว่าเป็นหนึ่ง อันนี้โดยอาการของจิตจะรวมดวงหนักแน่น
แม้ในสภาพรู้ของตนเองก็เห็นเป็นดวงเด่นเต็มรอบจริงๆ
ที่เรียกจิตว่าดวงนั้น
ปรากฏเป็นดวงจริงก็คราวถึงเอกัคคตาในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนี่เอง
พูดขยายความมากๆก็ไม่มีประโยชน์ เพราะจิตที่ยังไม่เคยถึงฐาน
ก็จะเข้าใจว่าลักษณะจิตมีเพียงความตั้งมั่นสบายๆ รู้ชัดคมกริบ
จะนึกไม่ถึงเลยว่าจิตปฏิรูปเป็นได้อีกสภาวะหนึ่งที่เหนือชั้นกว่าสติสามัญ
มากล่าวถึงองค์ที่สองคือวิจาร (ไม่มี ณ.เณรการันต์นะครับ)
โดยว่ากันเฉพาะวิจารอันเป็นองค์สมาธิ
นักปฏิบัติหลายท่านพยายามอธิบายให้ฟังง่าย
เช่นเป็นอาการที่จิตเข้าแนบคลุกเคล้าเป็นอันเดียวกับอารมณ์
อาการที่จิตประคองอารมร์ไว้อย่างต่อเนื่องไม่หลุด ฯลฯ
ซึ่งล้วนแล้วแต่ถูกต้อง และไม่เป็นที่สงสัยแก่ผู้เข้าถึง
อย่างไรก็ตาม เมื่อจะอธิบายต่อว่าเพราะเหตุใดขณิกสมาธิจึงใช้ในงานวิปัสสนาได้
อันนี้จะเริ่มคลุมเครือ และเป็นชนวนให้หลายคนตีความไปว่าสติธรรมดาๆ
ก็จัดเป็นขณิกสมาธิ เพราะถือว่าเพ่งอยู่กับอารมณ์เฉพาะหน้าแล้ว ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว
อยู่กับปัจจุบันอารมณ์แล้ว
ความจริงถ้าเข้าใจองค์คือ วิจาร อย่างถ่องแท้
เส้นแบ่งเรื่องศัพท์บัญญัติและข้อถกเถียงเกี่ยวกับการสร้างสรรค์องค์มรรคให้ครบ 8
จะมลายลงทันที
เพราะแท้ที่จริงแล้ว การได้องค์คือวิจารนั้น
ก็คือได้สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยอุเบกขาและสติบริบูรณ์พร้อมงานวิปัสสนา
เนื่องจากอาการรู้ของจิต หรือกล่าวให้ง่ายที่สุดคือจิตนั้น
พรากจากความคิดมาจับกับลมหายใจ หรืออารมณ์สมาธิอย่างแนบแน่นเป็นหนึ่ง
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าความคิดจะหยุดชะงักขาดสายลง
ไม่ได้หมายความว่าสุขทุกข์จะหายหนไป
ไม่ได้หมายความว่าความปรากฏแห่งกายจะถูกรู้ไม่ได้
ทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ เพียงแต่จิตถูกปรับให้อยู่ในอีกภาวะ
มีศูนย์กลาง หรือพื้นยืนมั่นคง พอจะมองแยกได้ออก
ว่าภาวะกาย ภาวะเวทนา ภาวะจิต และสภาวธรรมนั้น เป็นต่างหากจากผู้รู้ ผู้เป็นนามธรรมดูอยู่
อาการของจิตเป็นเช่นนั้นจริงๆ
จากที่คลุกอยู่กับความคิดในหัว ก็เหมือนหล่นปับไปจับอารมณ์สมาธิได้ดังใจนึก
เหมือนลงไปยืนอยู่คนละระนาบกับเปลือกหยาบคือความรู้สึกนึกคิด
เมื่อมองมรรค 8 โดยไล่จากต้นขึ้นมาหาปลาย
เราจะได้คำตอบที่เหมาะแก่การทำความเข้าใจเส้นทางปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น
แต่เมื่อมองมรรค 8 โดยไล่จากปลายลงไปหาต้น
เอาจากภาวะสมาธิจิตที่พร้อม ที่อ่อนควรแก่งานวิปัสสนา
องค์มรรคต่างๆที่เป็นของจริงจะปรากฏชัดกับตนเอง
กล่าวคือสำรวจรู้ได้ ว่าบัดนี้เรามีสมาธิพอที่จะตั้งเป็นสัมมาสติ
พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม อันเป็นปัจจุบัน เพื่อความแหนงหน่าย คลายกำหนัด
เพื่อความปล่อยวางลงจากพฤติภายในของจิตหรือไม่
ถ้าไม่พร้อม ก็สืบลงไปดูว่ามีความเพียรมาเพียงพอหรือยัง
หากยัง ก็รู้ว่าองค์คือสัมมาวายามะยังไม่บริบูรณ์ในตน
อาจจะยังขี้เกียจ อาจจะไม่มีแรงจูงใจ หรืออาจจะอยู่ในสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย
เช่นเหนื่อยเกินไป เพลียจนขยับไม่ได้จากการโหมงานประจำ ฯลฯ
โดยมากความเหนื่อยล้าและความขี้เกียจจะเป็นเหตุหลักที่ทำให้สัมมาวายามะพร่อง
หากพบในจิตอันเป็นสมาธิ ว่ามีความไม่ผ่องใส
ก็ไล่สำรวจไปในพฤติกรรม สืบหาข้อบกพร่องที่ยังให้จิตหม่น นับแต่
สัมมาสังกัปปะ (ยังคิดเล็กคิดน้อย คิดใหญ่คิดมากในเรื่องโลกๆ เรื่องกูๆ เรียกว่าคิดไม่ดีก็จิตตกได้)
สัมมาวาจา (ยังเพ้อเจ้อ โกหกเก่งเป็นไฟ ใส่ไคล้คนอื่นเป็นอาจิณหรือเปล่า เรียกว่าพูดไม่ดีก็จิตตกได้)
สัมมากัมมันตะ (ทำการไม่ชอบด้วยประการต่างๆ นับแต่ตีรันฟันแทงลง เรียกว่าทำไม่ดีก็จิตตกได้)
หากพบว่าทุกอย่างพร้อมเพรียงหมด จิตเป็นสมาธิผ่องใส
มีสติตั้งมั่นบริบูรณ์ แต่ไม่มีความก้าวหน้าในทางธรรมตามพระพุทธองค์เสียที
อัตตาไม่บางลง คิดหมกมุ่นไปทางแสวงหาเพิ่มมากกว่าลดละปล่อยวาง
อย่างนี้ก็ต้องเร่งสำรวจลงมาในสมาธิจิตนั้นเอง
ว่าน้อมไปพิจารณาธรรมโดยชอบหรือยัง
บางคนอวดดี บอกว่าตนมีความเห็นชอบมาหลายปีแล้ว
ไม่ต้องไปสำรวจแล้ว ก็จะได้ถึงเวลาดูจากจิตอันเป็นกลาง
ไม่เข้าใครออกใครแม้แต่ตัวเองนั้น ว่าเห็นชอบจริงหรือไม่
เห็นชอบอย่างไร ในหลักการหรือหลักกู
ถึงตรงนี้อยากกล่าวว่า
ขณิกสมาธิอันมีองค์คือวิตกและวิจารนั้น
เป็นศักยภาพเพียงพอจะไล่องค์มรรคจากปลายลงมาหาต้น
เพื่อสำรวจว่าตนเองมีจิตเป็นมรรคหรือไม่
กับทั้งอยากแสดงให้เห็นว่าถ้าเข้าใจเรื่ององค์มรรคจริงๆ
เราจะพูดจากจุดไหน เพื่อสืบสาวไปหาตรงไหนก็ได้ทั้งนั้น
ไม่จำเป็นต้องสาวทีละลำดับให้ต่อเนื่องจากต้นไปหาเสมอปลาย
เหมือนอย่างที่ใช้ความคิดความเข้าใจในเบื้องต้นเสมอไป
อีกจุดหนึ่ง เพื่อทำวิจารให้เกิด
ตรงนี้ไปเจอพระสูตรหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งได้
และนำมาอ้างเพื่อให้ทุกคนสนิทใจ ว่านี่เป็นสิ่งที่โบราณจารย์ท่านสอนไว้
ไม่ใช่ว่าผมสร้างสรรค์ขึ้นใหม่
นั่นคือแทนที่เราจะนึกถึงเทคนิคลัดสั้นเพื่อทำอานาปานสติให้ได้ผล
เรามาดูว่ามีกิเลสชนิดใดขัดขวางไม่ให้ทำอานาปานสติได้ผลเสียบ้าง
พิจารณาเข้าไปในขณะจิตหนึ่งๆเดี๋ยวนั้น
มีสติรู้ทันแล้วพรากกิเลสนั้นออกจากจิตเสีย
ถ้าอ่านข้างล่างนี้แล้วได้ข้อสรุปในการปฏิบัติ
คือสักแต่ รู้ ความเป็นปัจจุบันของสายลมหายใจอย่างเป็นกลาง
ว่าเข้าอยู่ หรือออกอยู่ หรือหยุดอยู่ ไม่หลงไปเป็นอาการอื่น
ก็ขอให้เชื่อเถิดว่าจะเข้าถึงจิตที่มีองค์สมาธิคือ "วิจาร" ได้อย่างรวดเร็ว
[๓๖๖] อุปกิเลส ๑๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้น ฯ
เมื่อบุคคลใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก
จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อบุคคลใช้สติ
ไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า จิตถึงความฟุ้งซ่านใน
ภายนอก ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปรารถนา ความพอใจลมหายใจ
ออก การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปรารถนา ความ
พอใจลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความหลง
ในการได้ลมหายใจเข้า แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจออกเข้าครอบงำ ย่อมเป็น
อันตรายแก่สมาธิ ความหลงในการได้ลมหายใจออก แห่งบุคคลผู้ถูกลมหาย
ใจเข้าครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
สติที่ไปตามลมหายใจออก ที่ไปตามลมหายใจเข้า ที่ฟุ้งซ่าน
ในภายใน ที่ฟุ้งซ่านในภายนอก ความปรารถนาลมหายใจออก
และความปรารถนาลมหายใจเข้า อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็น
อันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุปกิเลส
เหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้
หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความ
เชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ
[๓๖๗] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจ
ออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิต
กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต
จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึง
ถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระ
โยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตราย
แก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อ
คำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึง
ถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลม
หายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ
ออก ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจ
เข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก อุปกิเลส ๖ ประการ
นี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุป-
กิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็น
เครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์
ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตราย
แก่สมาธิ จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่
สมาธิ จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่
ถือจัด ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่รู้เกินไป ตก
ไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่ไม่รู้ ตกไปข้างฝ่าย
พยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
[๓๖๘] จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ จิตที่
หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้ ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส
๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา-
ปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้นย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความ
ดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล ฯ
[๓๖๙] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
แห่งลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
จิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่าม
กลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและ
ดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก กายและจิตย่อมมีความปรารภ
หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจออก
เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน
เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจเข้า เพราะความเที่ยวไปด้วย
ตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารถนา หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่
พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจร
ผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจออก กายและจิต
ย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำ
นึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ
หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออก
กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
ความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กาย
และจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระ-
โยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมมีความ
ปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจ
ออก กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหว
และดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่ง
อยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายความฟุ้งซ่าน กายและจิตย่อมมีความ
ปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหวังถึงอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง
กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ ตกไป
ข้างฝ่ายเกียจคร้าน กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
จิตถือตัว ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและ
ดิ้นรน เพราะจิตรู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด กายและจิตย่อมมีความปรารภ
หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ฯ
ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปาณสติ กายและจิตของผู้นั้น
ย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปาณสติดี
กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล ฯ
ก็และเมื่อพระโยคาวจร ผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญ
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ
ย่อมมีได้ อุปกิเลส ๑๘ เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น ฯ
จากคุณ : ดังตฤณ
วิธีคิดเพื่อชีวิตเป็นบวก
เคยไหมเครียดกับปัญหา จนรู้สึกบั่นทอนกำลังใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ? แต่!! รู้หรือไม่ การนำหลัก Positive Thinking มาใช้ ช่วยให้เราผ่านพ้นสถานการณ์ที่คิดว่าย่ำแย่ไปได้ เพราะความมหัศจรรย์ของการคิดบวก นอกจากจะช่วยให้ไม่กดดันตัวเองแล้ว ยังเป็นการสร้างกำลังใจให้พร้อมลุยกับปัญหาได้อย่างมั่นใจ ‘เกร็ดน่ารู้’ สัปดาห์นี้ มีวิธีคิดบวก เพื่อชีวิตที่เป็นบวกมาฝากกัน
1.สร้างความเชื่อมั่น ว่า ‘เราต้องทำได้’ ไม่ว่าจะเจอปัญหาใด ๆ ให้มองด้านบวกไว้ แม้จะคิดว่าจัดการไม่ได้ทั้งหมด แต่เชื่อเถอะว่าคุณสามารถทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ หลักสำคัญคือการตั้งสติศึกษาปัญหา แล้วค่อย ๆ แก้ไข ขอเพียงหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่า ‘ฉันทำไม่ได้แน่ ๆ’
2.สร้างจินตนาการ ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะต่อสู้กับอุปสรรค และอยากทำกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป รวมไปถึงการมีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มองทุกอย่างด้วยความเป็นกลาง เพื่อชีวิตที่สมดุล
3.คิดถึงความสำเร็จ แม้ทางไปสู่จุดหมายจะพบอุปสรรคบ้างก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา ที่สำคัญไม่ควรมองตัวเองว่าไม่มีความสามารถ และ ‘อย่านำตัวเองไปเปรียบกับใคร’ เพราะเราไม่ใช่ใคร และใครก็ไม่ใช่เรา แต่ละคนมีทักษะต่างกัน แค่ตั้งใจทำให้ดีที่สุดก็พอแล้ว
4.คิดมีเหตุผล เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในเรื่องต่าง ๆ อย่าโทษตัวเองทุกเรื่อง และอย่าคิดว่าครั้งต่อ ๆ ไปก็จะผิดพลาดตลอด ควรใช้หลักการคิดอย่างมีเหตุผล เพราะหลายคนมักประเมินมาตรฐานตนเองต่ำเกินไป จึงยิ่งบั่นทอนความมั่นใจให้ลดน้อยลง
แนวทาง ‘คิดบวก’ เพียงเท่านี้ นอกจากจะช่วยโบกมือบ๊าย บาย อุปสรรคทางความคิด ‘กลัว’ แล้ว ยังเป็นการเพิ่มคุณค่าให้ชีวิตเป็นบวกได้ง่าย ๆ ด้วย.
ที่มา http://variety.teenee.com/foodforbrain/13279.html
1.สร้างความเชื่อมั่น ว่า ‘เราต้องทำได้’ ไม่ว่าจะเจอปัญหาใด ๆ ให้มองด้านบวกไว้ แม้จะคิดว่าจัดการไม่ได้ทั้งหมด แต่เชื่อเถอะว่าคุณสามารถทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ หลักสำคัญคือการตั้งสติศึกษาปัญหา แล้วค่อย ๆ แก้ไข ขอเพียงหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่า ‘ฉันทำไม่ได้แน่ ๆ’
2.สร้างจินตนาการ ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะต่อสู้กับอุปสรรค และอยากทำกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป รวมไปถึงการมีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มองทุกอย่างด้วยความเป็นกลาง เพื่อชีวิตที่สมดุล
3.คิดถึงความสำเร็จ แม้ทางไปสู่จุดหมายจะพบอุปสรรคบ้างก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา ที่สำคัญไม่ควรมองตัวเองว่าไม่มีความสามารถ และ ‘อย่านำตัวเองไปเปรียบกับใคร’ เพราะเราไม่ใช่ใคร และใครก็ไม่ใช่เรา แต่ละคนมีทักษะต่างกัน แค่ตั้งใจทำให้ดีที่สุดก็พอแล้ว
4.คิดมีเหตุผล เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในเรื่องต่าง ๆ อย่าโทษตัวเองทุกเรื่อง และอย่าคิดว่าครั้งต่อ ๆ ไปก็จะผิดพลาดตลอด ควรใช้หลักการคิดอย่างมีเหตุผล เพราะหลายคนมักประเมินมาตรฐานตนเองต่ำเกินไป จึงยิ่งบั่นทอนความมั่นใจให้ลดน้อยลง
แนวทาง ‘คิดบวก’ เพียงเท่านี้ นอกจากจะช่วยโบกมือบ๊าย บาย อุปสรรคทางความคิด ‘กลัว’ แล้ว ยังเป็นการเพิ่มคุณค่าให้ชีวิตเป็นบวกได้ง่าย ๆ ด้วย.
ที่มา http://variety.teenee.com/foodforbrain/13279.html
9 สิ่งมงคลสำหรับชีวิต
๑.ใจมงคล ทุกอย่างในชีวิตของคนเรานั้น " ใจ " นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาเราไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางทั้งที่ดีและไม่ดีได้ ดังนั้น การเริ่มมงคลใดๆ จึงควรเริ่มที่ " ใจ " ก่อนเป็นอันดับแรก นั่นคือ การทำจิตใจดีให้มีขึ้นทุกๆวัน วิธีง่ายๆคือ ทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมาก็ไม่คิดเรื่องร้ายๆไปล่วงหน้า เช่น.. ไม่คิดว่าเราจะถูกนายด่าไปก่อนเพราะเมื่อวานทำผิด การคิดล่วงหน้าเช่นนั้นจะทำให้จิตใจเราขุ่นมัว ไม่แจ่มใส ถึงทำผิดจริงก็ต้องคิดว่าแก้ไขได้
ไม่บริโภคความโกรธเป็นอาหารเช้า คือ
ไม่คิดจับผิดหรือโมโหโทโสนับแต่ลุกจากเตียง
เช่น เช้ามาก็ไม่โมโหลูกที่ตื่นสาย
ไม่โมโหภริยาที่ทำไข่ลวกเป็นไข่ต้ม ไม่ฉุนรถเมล์ที่ไม่จอดรับ ฯลฯ
แต่ให้เริ่มต้นทุกเช้าด้วยการ "คิดแต่เรื่องดีๆ "
จะทำให้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นพลังบวกที่จะดึงดูดให้คนอยากเข้าใกล้
กลายเป็นคนมีเสน่ห์ เป็นมงคลข้อแรก
๒.วาจามงคล คือ การพูดจาดี
ซึ่ง " ดี " ในที่นี้หมายรวมถึง เนื้อหา ถ้อยคำน้ำเสียงที่ใช้เจรจาพาทีกับผู้อื่น
ทั้งคนใกล้ชิดที่เป็นญาติสนิทมิตรสหาย ผู้ร่วมงาน
รวมถึงคนไม่รู้จักที่เราต้องโอภาปราศรัยด้วย
พูดง่ายๆว่าให้ใช้ " วาจาภาษาดอกไม้ " กับทุกๆ คนทุกๆ ระดับ
และควรเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมชวนดมด้วย
เช่น ชมเขาว่า " วันนี้ คุณแต่งตัวสวยจังค่ะเหมือนสมัยคุณแม่ฉันยังสาว " เช่นนี้
คงเป็นดอกอุตพิด ที่กลิ่นเหมือนอุจจาระทำให้คนฟังคิดแช่งชักหักกระดูก
ด่าว่าเราในใจ อย่าพูดเสียเลยดีกว่า
ดังนั้น วาจามงคล จึงควรเป็นคำพูดที่สุภาพไพเราะ
และถ้อยคำเป็นประโยชน์ ไม่เพ้อเจ้อ เหลวไหล หรือส่อเสียด แดกดัน
คนพูดดี ไปไหนก็มีแต่คนต้อนรับ เป็นมงคลข้อสองที่เราควรปฏิบัติ
๓.กายมงคล คือ การแต่งกายให้เหมาะสม ถูกกาละเทศะ
จะทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ถูกตำหนิติเตียน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
เป็นมงคลข้อที่สาม เพราะการไม่ถูกใครว่าย่อมเป็นสิ่งดีที่เป็นมงคลแก่เราตลอดวัน
และหากจะใส่เสื้อผ้าตามหลักโหราศาสตร์เพื่อเสริมความมั่นใจหรือสร้างกำลังใจให้ตัวเองเพิ่มขึ้น ก็ย่อมได้ แต่ก็ต้องดูให้เหมาะด้วย เช่น ไม่ใส่สีม่วงไปในงานแต่งงานที่เจ้าภาพเขาถือว่าเป็นสีแม่ม่าย แม้ว่าจะเป็นสีที่เขาบอกว่า เป็นสีแห่งโชคลาภของเราวันนั้นก็ตาม
๔.ครอบครัวมงคล คือ การสร้างความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวของเรา
เพราะครอบครัวเป็นพื้นฐานแรกที่จะช่วยสร้าง " สมาชิกมงคล " ให้แก่ชุมชนและประเทศชาติ
นั่นก็คือ ผู้ที่เป็นพ่อแม่ ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตัวให้ถูกต้อง เหมาะสม
ไม่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่ลูกๆไม่เมามัวเรื่องเพศ มีผัวน้อย เมียน้อยให้ลูกทุกข์
ไม่ทะเลาะเบาะแว้งซึ่งกันและกัน
ขณะเดียวกันก็สอนลูกในทางที่ถูกที่ควร ฯลฯ อันจะนำมาซึ่งความสุขในบ้าน
และเป็นมงคลที่จะเป็นพลังสำคัญในการต่อสู้กับชีวิตภายนอก
๕.บ้านมงคล หมายถึง การจัดบ้านเรือนของเราให้สะอาดสะอ้าน
ไม่รกเป็นรังหนู ถ้าหากในรอบปีที่ผ่านมา
เราอาจวางสิ่งของ เสื้อผ้า ฯลฯ สุมจนเป็นกองขยะ
ตามจุดต่างๆในห้องนอน ห้องทำงาน ห้องครัว หรือห้องรับแขก
ก่อนปีใหม่หรือวันใดวันหนึ่งควรหาทางสะสาง และจัดเก็บบ้านให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย
เพราะบ้านเรือนที่โล่งสะอาด เรียบร้อย ก็เป็นการจัดฮวงจุ้ยที่ช่วยเสริมให้ผู้อยู่อาศัยให้เกิดความปลอดโปร่ง สบายใจ ไม่อึดอัด หงุดหงิด เพราะหาของไม่เจอ หรือเดินไปไหนในบ้านก็เตะโน่น ชนนี่ เหมือนมีอุปสรรคขัดขวางตลอดเวลา
บ้านที่สะอาดมีระเบียบเรียบร้อย จึงเป็นมงคลข้อที่ห้า
๖.เพื่อนมงคล คือ การคบหาเพื่อนที่ดีไว้เป็นสหาย
เพราะเพื่อนที่ดีย่อมมีผลต่อความเจริญก้าวหน้าของชีวิต
ส่วน เพื่อนที่ไม่ดีมีแต่พาเราไปสู่หนทางแห่งความหายนะ
เช่น เพื่อนปอกลอก คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว คบเราเพราะมีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง
เพื่อนหัวประจบ ก็จะเออออไปกับเราทุกอย่างไม่ว่าจะทำดีทำชั่ว
แต่ลับหลังกลับนินทา และที่ร้ายที่สุดคือ เพื่อนชวนฉิบหาย คือ ชวนให้เราดื่มเหล้า
เมายาอี มั่วเซ็กส์และเล่นการพนัน
เหล่านี้คบแล้วก็พาเราไปสู่ทางเสื่อมเสียทั้งสิ้น
ส่วน เพื่อนแท้ คือมิตรที่ร่วมทุกข์ร่วมสุข แนะนำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
เมื่อเราทุกข์ก็ทุกข์ด้วย และหาทางช่วยเหลือ
เมื่อสุขก็พลอยยินดี ไม่ริษยาเรา เป็นต้น การมีมิตรดีจึงเป็นมงคลอีกข้อ
๗.ที่ทำงานมงคล ก็ใช้หลักเช่นเดียวกับบ้านมงคล
นั่นคือ ต้องให้สถานที่ทำงานของเราสะอาดสะอ้าน
เป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าทำทั้งหมดไม่ได้ อย่างน้อยที่สุด โต๊ะทำงานของเราก็ให้สะอาด สวยงาม ไม่รกหรือมีของกองสุมจนหาที่ว่างไม่ได้ และแม้แต่เราเองก็ไม่อยากนั่ง
ไม่ว่าโต๊ะทำงานหรือที่ทำงานของเราก็เป็นดังกระจกสะท้อนถึงลักษณะของผู้ที่ทำงานอยู่ในสถานที่นั้นๆ
ดังนั้น ที่ทำงานหรือโต๊ะทำงานจึงเป็นอีกมงคลหนึ่ง
ที่จะก่อให้เกิด "First Impression" ต่อหน่วยงานหรือตัวเราเองได้
๘.อาหารมงคล คือ อาหารที่กินแล้วมีประโยชน์ต่อตัวเรา
และไม่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ทองหยิบทองหยอด
แม้จะชื่อดี แต่อาจจะทำให้เราเป็นเบาหวาน หรือเป็นโรคอ้วนได้
ดังนั้น เราจึงควรงดหรือกินแต่น้อยพอประมาณ
แล้วไปกินผลไม้ชื่อมงคลอื่นแทน เช่น ส้มเช้ง ทับทิม กล้วยหอม เป็นต้น
๙.กรรมมงคล กรรม ก็คือ การกระทำ หมายถึงให้เราพยายามทำสิ่งที่ดีๆให้ได้ทุกวัน
หรือวันละเล็กละน้อย ถือว่าเป็นการสะสมบุญกุศลที่เป็นอีกมงคล
ซึ่งจะส่งผลให้เรามีความสุขกาย สบายใจ เช่น
ไหว้พระระลึกถึงพระรัตนตรัยก่อนออกจากบ้านทุกวัน
งดกินเนื้อสัตว์ทุกวันเกิดในสัปดาห์
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ขอเชิญร่วมสร้างผนังข้างฝาศาลาสวดมนต์
เนื่องด้วยขณะนี้ ศาลาปฏิบัติธรรม ได้ดำเนินการก่อสร้างผนังข้างฝามาเป็นบางส่วนแล้ว
แต่ยังขาดวัสดุก่อสร้างอีกจำนวนมาก เช่น ปูน ทราย
จึงขอบอกบุญมายังท่านผู้มีใจบุญและผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญ
เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขและพ้นภัยพิบัติทั้งปวงกับท่านและครอบครัว มาในครั้งนี้ ด้วย
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อพุทธศาสนิกชนได้รู้จักเข้าใจชิดใกล้สังคมศาสนายิ่งขึ้น
๒.เพื่อปลูกฝัง ตอกย้ำ ทบทวน สัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นเบื้องต้นของสัมมาอาริยะ มรรค
๓.เพื่อพัฒนาสมาธิจิต และการปฏิบัติธรรมในระบบสัมมาอาริยะมรรคให้เข้มข้นจริงจังมากขึ้น
๔.เพื่อเรียนรู้การอยู่ร่วมกับมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งเป็นสังคมพุทธบริษัท
๕.เพื่อสร้างจารีตประเพณีหรือรอยทางอันดีไว้ให้เครือญาติ บุตรหลานและอนุชน
๖.เพื่อผนึกพลังคนดีมีศีลธรรม ร่วมสร้างสังคมเพื่อน สังคมพุทธ หรือสังคมกัลยาณมิตรสืบไป
๗.เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เผยแพร่ธรรมะแก่เพื่อนมนุษย์ สามารถนำธรรมะไปใช้ดับ
ทุกข์ในชีวิตประจำวัน ให้มีชีวิตที่สงบเย็นและเป็นประโยชน์
๘. เพื่อสาธิตการทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยใช้หลักพุทธธรรมนำสังคม
๙. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ได้มาทำแบบฝึกหัดร่วมกัน ในการให้และ
การรับ ผ่านการทำงานเพื่อสังคม อันจะเป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น
ที่นี่ … มีดอกไม้ สวยสดใสในพื้นหญ้า
ที่นี่ … มีแววตา ไร้มายาพาสับสน
ที่นี่ … มีความรัก อบอุ่นนักยามมืดมน
ที่นี่ … ไม่อับจน เพราะมากล้นคนเข้าใจ
ที่นี่ … มีแสงธรรม ส่องนำทางชีวิตได้
ที่นี่ … มีน้ำใจ หล่อเลี้ยงไว้ให้ทุกคน
๒.เพื่อปลูกฝัง ตอกย้ำ ทบทวน สัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นเบื้องต้นของสัมมาอาริยะ มรรค
๓.เพื่อพัฒนาสมาธิจิต และการปฏิบัติธรรมในระบบสัมมาอาริยะมรรคให้เข้มข้นจริงจังมากขึ้น
๔.เพื่อเรียนรู้การอยู่ร่วมกับมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งเป็นสังคมพุทธบริษัท
๕.เพื่อสร้างจารีตประเพณีหรือรอยทางอันดีไว้ให้เครือญาติ บุตรหลานและอนุชน
๖.เพื่อผนึกพลังคนดีมีศีลธรรม ร่วมสร้างสังคมเพื่อน สังคมพุทธ หรือสังคมกัลยาณมิตรสืบไป
๗.เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เผยแพร่ธรรมะแก่เพื่อนมนุษย์ สามารถนำธรรมะไปใช้ดับ
ทุกข์ในชีวิตประจำวัน ให้มีชีวิตที่สงบเย็นและเป็นประโยชน์
๘. เพื่อสาธิตการทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยใช้หลักพุทธธรรมนำสังคม
๙. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ได้มาทำแบบฝึกหัดร่วมกัน ในการให้และ
การรับ ผ่านการทำงานเพื่อสังคม อันจะเป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น
ที่นี่ … มีดอกไม้ สวยสดใสในพื้นหญ้า
ที่นี่ … มีแววตา ไร้มายาพาสับสน
ที่นี่ … มีความรัก อบอุ่นนักยามมืดมน
ที่นี่ … ไม่อับจน เพราะมากล้นคนเข้าใจ
ที่นี่ … มีแสงธรรม ส่องนำทางชีวิตได้
ที่นี่ … มีน้ำใจ หล่อเลี้ยงไว้ให้ทุกคน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)