แต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย บูชาพระ ทำใจเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ให้แน่นอน กล่าววาจานมัสการพระรัตนตรัย นึกในใจหรืออกเสียงก็ได้ ภาษาบาลีหรือภาษาไทยก็ได้ พระพุทธเจ้าท่านมีจิตเป็นทิพย์ ท่านฟังรู้เรื่องหมด จะมีดอกไม้ธูปเทียนหรือไม่มีก็ได้
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อาระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( 3 จบ)
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ พระองค์นั้น ( 3 ครั้ง)
พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมคำสอน เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระอริยสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
ต่อไปก็ตั้งใจ กำหนดไว้ในใจว่า จะรักษาศีล 5 ตลอดชีวิตดังนี้
1) เราจะไม่ฆ่าสัตว์ ทรมานคน สัตว์ ให้ตาย หรือให้ได้รับความเดือดร้อนตลอดชีวิต
2) เราจะไม่ลักขโมย คดโกง หลอกลวง ในทรัพย์สินเงินทอง ของคนอื่นมาเป็นของเราตลอดชีวิต
3) เราจะไม่ทำเจ้าชู้ ลูก สามี ภรรยา และคนในปกครองของผู้อื่นโดยที่ผู้ปกครองและเจ้าของไม่อนุญาต ตลอดชีวิต
4) เราจะไม่พูดปดคือวาจาที่ไม่ตรงความจริง ไม่พูดวาจาหยาบคายให้เป็นที่สะเทือนของผู้รับฟัง ไม่ยุ หรือนินทาคนอื่น ให้เป็นเครื่องบาดหมาง หรือแตกร้าวกัน ไม่พูดวาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ตลอดชีวิต
5) เราจะไม่ดื่มสุราเมรัย เล่นพนัน ติดฝิ่น ยาบ้า ยาระงับประสาททุกชนิด ตลอดชีวิต
6) เราจะไม่คิดอยากได้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยความเต็มใจตลอดชีวิต
7) เราจะไม่จองเวร จองล้าง จองผลาญ จองกรรม คิดพยาบาท แก้แค้นในบุคคล ที่ทำให้เราไม่พอใจ ถ้าไม่หนักเกินไป เราจะให้อภัยแก่ผู้นั้นตลอดชีวิต
เราจะไม่ฝ่าฝืนพระธรรมคำสอน มีศีลเป็นต้น จะปฏิบัติตามคำสอนด้วยความเคารพ ตลอดชีวิต
ทั้งหมดจะกล่าวเบา ๆ หรือคิดในใจก็ได้ พระพุทธองค์ทรงทราบได้ แล้วสมาทานพระกรรมฐานด้วย ตั้งนะโม 3 จบ แล้วกล่าวดังนี้
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจัจ ชามิ แปลว่า ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ขอมอบกายถวายชีวิตแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
สมาทานแล้ว กราบ 3 ครั้ง ด้วยความเคารพ ต่อไปเริ่มทำสมาธิ การนั่งอย่าลืมว่าเราปฏิบัติที่จิต เราไม่ได้หัดนั่ง หัดยืน หัดเดิน ดังนั้นควรทำกายให้สบาย จิตจะได้ฝึกให้เป็นสมาธิ คือจิตตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์เดียว ไม่วอกแวกๆไปไหน ได้ง่าย ๆ จะนั่งท่าไหนก็ได้ตามแต่ร่างกายจะสบาย จะยืนเดิน ก็ได้ไม่ห้าม อย่าฝืนร่างกายต้องทุกข์ทรมาน จิตจะไม่เป็นสมาธิ
บทภาวนาในที่นี้ ขอแนะนำให้ภาวนา พุทโธ เพราะสั้น ง่าย มีอานิสงส์ มีบุญมาก เพราะเป็นนามของพระพุทธเจ้า หายใจเข้านึกตามลมหายใจเข้า เร็ว ลึก ตื้น ให้สังเกตลมนึกว่า พุท หายใจออกจิตดูลมออกจากปอดถึงปลายจมูกเร็วหรือสั้นนึกว่า โธ จำภาพพระพุทธรูปที่วัดไหน แบบใดก็ได้ที่ชอบ ถ้าพระพุทธรูปอยู่ใกล้ ให้ลืมตาดูพระพุทธรูป พอจำได้ดีแล้ว หลับตา นึกถึงภาพพระ กำหนดลมหายใจเข้า-พุท หายใจออก-โธ ไปด้วย ถ้าภาพเลื่อนไปจากใจ ให้ลืมตาดูใหม่ ในไม่ช้าจิตจะทรงสมาธิ พุท-โธ ได้ดี ไม่ต้องมองภาพพระ ก็สามารถนึกถึงภาพพระได้ตลอดเวลา ติดตาติดใจอย่างนี้ ท่านเรียกว่า จิตเป็นฌาน
การทำสมาธินี้ ท่านจะทำได้ทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ว่าจะขับรถ วิ่ง ทำงาน รับประทานอาหาร หรืออยู่ในห้องส้วม หรือก่อนนอน ตื่นนอน ได้ตลอดเวลาที่ยังตื่นอยู่ ให้ทำแบบคนไม่มีเวลาที่จะหยุดทำสมาธิ งานทางโลกจะดีเกิดคาด เพราะได้ทางธรรม คืองานทางจิตด้วย เมื่อจิตสะอาด ฉลาด งานทางโลก ซึ่งเป็นงานทางกายก็สำเร็จ เพราะจิตเป็นสมาธิ งานไม่ขาดตกบกพร่อง
ภาวนาดูลมหายใจเข้าออก นึกพุทโธ ควบคู่กันไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์หงุดหงิด หรือฟุ้งซ่านตั้งอารมณ์ไม่อยู่จงเลิกเสีย จะเลิกเฉยๆ หรือดูโทรทัศน์ คุยกับเพื่อนให้อารมณ์สบาย อย่ากำหนดเวลาตายตัว จะต้องนั่งให้ครบเวลา อย่าเครียด ทำให้สนุก สนุกกับงานทางจิต ถ้าเครียดก็เลิกทำ ทำอย่างอื่นหรือพิจารณาธรรมชาติของโลก ร่างกาย ชีวิตมีแต่ปัญหายุ่งยาก เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่อยู่ในความควบคุมของเราได้ เป็นกฎธรรมชาติ หนีไม่พ้น คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา คือไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น ควบคุมไม่ได้ ในที่สุดก็พังสลาย ตายกันหมด คนเกิดมาเท่าไร ตายหมดเท่านั้น
การใช้คำภาวนา พระท่านไม่ได้กำหนด จะใช้อะไรก็ได้ พุทโธ ก็ได้ ธัมโม ก็ได้ สังโฆ ก็ได้ นะโมพุทธายะ ก็ได้ ยุหนอพองหนอ ก็ได้ แต่ถ้าระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยยิ่งดีมาก เพราะเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ทำจิตให้สะอาด สว่าง ไสว เบิกบาน เพราะนึกถึงผู้ที่มีคุณธรรมสูงส่งไปด้วย ความกตัญญูในพระองค์ท่าน จะมีแต่ความสุขความเจริญ มีเดชเดชะ เป็นที่รักของบุคคลที่ได้พบเรา ผู้ที่นึกถึงพระพุทธเจ้า ตายแล้วไปเสวยสุข สวรรค์ นิพพาน ผู้ที่ไม่ได้นึกถึงพระพุทธองค์ จิตวุ่นวายทางโลก จิตเศร้าหมอง ตายแล้วก็มีหวังไปสู่ทุคติ คือ ความทุกข์เกิดทางต่ำ เช่น นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ถ้าเกิดเป็นคนก็เป็นคนต่ำช้า ตกยากลำบาก เพราะจิตไม่สะอาด
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อาระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( 3 จบ)
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ พระองค์นั้น ( 3 ครั้ง)
พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมคำสอน เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระอริยสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
ต่อไปก็ตั้งใจ กำหนดไว้ในใจว่า จะรักษาศีล 5 ตลอดชีวิตดังนี้
1) เราจะไม่ฆ่าสัตว์ ทรมานคน สัตว์ ให้ตาย หรือให้ได้รับความเดือดร้อนตลอดชีวิต
2) เราจะไม่ลักขโมย คดโกง หลอกลวง ในทรัพย์สินเงินทอง ของคนอื่นมาเป็นของเราตลอดชีวิต
3) เราจะไม่ทำเจ้าชู้ ลูก สามี ภรรยา และคนในปกครองของผู้อื่นโดยที่ผู้ปกครองและเจ้าของไม่อนุญาต ตลอดชีวิต
4) เราจะไม่พูดปดคือวาจาที่ไม่ตรงความจริง ไม่พูดวาจาหยาบคายให้เป็นที่สะเทือนของผู้รับฟัง ไม่ยุ หรือนินทาคนอื่น ให้เป็นเครื่องบาดหมาง หรือแตกร้าวกัน ไม่พูดวาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์ตลอดชีวิต
5) เราจะไม่ดื่มสุราเมรัย เล่นพนัน ติดฝิ่น ยาบ้า ยาระงับประสาททุกชนิด ตลอดชีวิต
6) เราจะไม่คิดอยากได้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยความเต็มใจตลอดชีวิต
7) เราจะไม่จองเวร จองล้าง จองผลาญ จองกรรม คิดพยาบาท แก้แค้นในบุคคล ที่ทำให้เราไม่พอใจ ถ้าไม่หนักเกินไป เราจะให้อภัยแก่ผู้นั้นตลอดชีวิต
เราจะไม่ฝ่าฝืนพระธรรมคำสอน มีศีลเป็นต้น จะปฏิบัติตามคำสอนด้วยความเคารพ ตลอดชีวิต
ทั้งหมดจะกล่าวเบา ๆ หรือคิดในใจก็ได้ พระพุทธองค์ทรงทราบได้ แล้วสมาทานพระกรรมฐานด้วย ตั้งนะโม 3 จบ แล้วกล่าวดังนี้
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจัจ ชามิ แปลว่า ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ขอมอบกายถวายชีวิตแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
สมาทานแล้ว กราบ 3 ครั้ง ด้วยความเคารพ ต่อไปเริ่มทำสมาธิ การนั่งอย่าลืมว่าเราปฏิบัติที่จิต เราไม่ได้หัดนั่ง หัดยืน หัดเดิน ดังนั้นควรทำกายให้สบาย จิตจะได้ฝึกให้เป็นสมาธิ คือจิตตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์เดียว ไม่วอกแวกๆไปไหน ได้ง่าย ๆ จะนั่งท่าไหนก็ได้ตามแต่ร่างกายจะสบาย จะยืนเดิน ก็ได้ไม่ห้าม อย่าฝืนร่างกายต้องทุกข์ทรมาน จิตจะไม่เป็นสมาธิ
บทภาวนาในที่นี้ ขอแนะนำให้ภาวนา พุทโธ เพราะสั้น ง่าย มีอานิสงส์ มีบุญมาก เพราะเป็นนามของพระพุทธเจ้า หายใจเข้านึกตามลมหายใจเข้า เร็ว ลึก ตื้น ให้สังเกตลมนึกว่า พุท หายใจออกจิตดูลมออกจากปอดถึงปลายจมูกเร็วหรือสั้นนึกว่า โธ จำภาพพระพุทธรูปที่วัดไหน แบบใดก็ได้ที่ชอบ ถ้าพระพุทธรูปอยู่ใกล้ ให้ลืมตาดูพระพุทธรูป พอจำได้ดีแล้ว หลับตา นึกถึงภาพพระ กำหนดลมหายใจเข้า-พุท หายใจออก-โธ ไปด้วย ถ้าภาพเลื่อนไปจากใจ ให้ลืมตาดูใหม่ ในไม่ช้าจิตจะทรงสมาธิ พุท-โธ ได้ดี ไม่ต้องมองภาพพระ ก็สามารถนึกถึงภาพพระได้ตลอดเวลา ติดตาติดใจอย่างนี้ ท่านเรียกว่า จิตเป็นฌาน
การทำสมาธินี้ ท่านจะทำได้ทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ว่าจะขับรถ วิ่ง ทำงาน รับประทานอาหาร หรืออยู่ในห้องส้วม หรือก่อนนอน ตื่นนอน ได้ตลอดเวลาที่ยังตื่นอยู่ ให้ทำแบบคนไม่มีเวลาที่จะหยุดทำสมาธิ งานทางโลกจะดีเกิดคาด เพราะได้ทางธรรม คืองานทางจิตด้วย เมื่อจิตสะอาด ฉลาด งานทางโลก ซึ่งเป็นงานทางกายก็สำเร็จ เพราะจิตเป็นสมาธิ งานไม่ขาดตกบกพร่อง
ภาวนาดูลมหายใจเข้าออก นึกพุทโธ ควบคู่กันไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์หงุดหงิด หรือฟุ้งซ่านตั้งอารมณ์ไม่อยู่จงเลิกเสีย จะเลิกเฉยๆ หรือดูโทรทัศน์ คุยกับเพื่อนให้อารมณ์สบาย อย่ากำหนดเวลาตายตัว จะต้องนั่งให้ครบเวลา อย่าเครียด ทำให้สนุก สนุกกับงานทางจิต ถ้าเครียดก็เลิกทำ ทำอย่างอื่นหรือพิจารณาธรรมชาติของโลก ร่างกาย ชีวิตมีแต่ปัญหายุ่งยาก เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่อยู่ในความควบคุมของเราได้ เป็นกฎธรรมชาติ หนีไม่พ้น คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา คือไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น ควบคุมไม่ได้ ในที่สุดก็พังสลาย ตายกันหมด คนเกิดมาเท่าไร ตายหมดเท่านั้น
การใช้คำภาวนา พระท่านไม่ได้กำหนด จะใช้อะไรก็ได้ พุทโธ ก็ได้ ธัมโม ก็ได้ สังโฆ ก็ได้ นะโมพุทธายะ ก็ได้ ยุหนอพองหนอ ก็ได้ แต่ถ้าระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยยิ่งดีมาก เพราะเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ทำจิตให้สะอาด สว่าง ไสว เบิกบาน เพราะนึกถึงผู้ที่มีคุณธรรมสูงส่งไปด้วย ความกตัญญูในพระองค์ท่าน จะมีแต่ความสุขความเจริญ มีเดชเดชะ เป็นที่รักของบุคคลที่ได้พบเรา ผู้ที่นึกถึงพระพุทธเจ้า ตายแล้วไปเสวยสุข สวรรค์ นิพพาน ผู้ที่ไม่ได้นึกถึงพระพุทธองค์ จิตวุ่นวายทางโลก จิตเศร้าหมอง ตายแล้วก็มีหวังไปสู่ทุคติ คือ ความทุกข์เกิดทางต่ำ เช่น นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ถ้าเกิดเป็นคนก็เป็นคนต่ำช้า ตกยากลำบาก เพราะจิตไม่สะอาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น