วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

พระอรหันต์นิพพานแล้วไปไหน

ปัญหา คนธรรมดาตายแล้วย่อมเกิดในภพต่าง ๆ ตามกรรม ส่วนพระอรหันต์ผู้สิ้นกรรมแล้ว ไปเกิดที่ไหน ?

พุทธดำรัสตอบ “....ดูก่อนวัจฉะ คำว่า จะเกิดดังนี้ไม่ควรเลย.... คำว่า ไม่เกิดดังนี้ก็ไม่ควร.... คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ก็ไม่ควร.... คำว่าเกิดก็มีใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ก็ไม่ควร
“.....ธรรมนี้เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเป็นยากที่จะรู้ สงบระงับประณีตไม่ใช่ธรรมที่จะหลั่งถึงได้ด้วยความตร ึกละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยากดูก่อนวัจฉะ...... เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้..... ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านท่านจะพึงรู้หรือไม่ว่าไ ฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา”
วัจฉะ “ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา”
พุทธะ “...... ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้อาศัยอะไรจึงลุกเล่า ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร ?
วัจฉะ “......ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกอยู่”
พุทธะ “......ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้จะดับไปต่อหน้าเราแล้ว ?”
วัจฉะ “ ...... ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.....”
พุทธะ “......ไฟที่ดับไปต่อหน้าท่านแล้วนั้นไปยังทิศไหนจาก ทิศนี้.... ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร ?”
วัจฉะ “...... ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกแต่เพราะเช ื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่า ไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว”
พุทธะ “......ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะรูปใด...... เพราะเวทนาใด....... เพราะสัญญาใด........ เพราะสังขารใด เพราะวิญญาณใด รูป...... เวทนา...... สัญญา.....สังขาร..... วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เห็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความมี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูป....... เวทนา...... สัญญา.... สังขาร...... วิญญาณ มีคุณอันลึกอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มีไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้”

อัคคิวัจฉโคตตสูตร ม. ม. (๒๔๘-๒๕๑)
ตบ. ๑๓ : ๒๔๕-๒๔๘ ตท.๑๓ : ๒๐๙-๒๑๑
ตอ. Mls. Ii : ๑๖๕-๑๖๖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น